อานาปานสติและอานิสงส์ วิสุทธิมรรคแปล ภาค 2 ตอน 1 หน้า 142
หน้าที่ 142 / 266

สรุปเนื้อหา

บทความนี้อธิบายความสำคัญของอานาปานสติที่พระพุทธเจ้าได้ตรัสไว้ โดยยกตัวอย่างคำสอนเกี่ยวกับการเจริญสติปัฏฐาน ๔ และอานิสงส์ที่สำคัญ ซึ่งรวมถึงการรู้จักลมอัสสาสะปัสสาสะที่เป็นจริมกะและความดับของลมหายใจ ตามหลักคำสอนของพระพุทธเจ้า เพื่อให้บัณฑิตเข้าใจถึงการทำวิชชาและวิมุติอย่างถูกต้อง

หัวข้อประเด็น

-อานาปานสติ
-สติปัฏฐาน
-วิชชา
-วิมุติ
-พระพุทธศาสนา

ข้อความต้นฉบับในหน้า

ประโยค๘ - วิสุทธิมรรคแปล ภาค ๒ ตอน ๑ - หน้าที่ 142 ตรัสไว้ว่า "อานาปานสติ ภิกษุพึงบำเพ็ญเพื่อตัดเสียซึ่งวิตก" ดังนี้ อนึ่ง ความที่อานาปานสตินั้นมีอานิสงส์มาก บัณฑิตพึงทราบโดย ความเป็นมูลแห่งการทำวิชชาและวิมุติให้บริบูรณ์ก็ได้ จริงอยู่ พระผู้มี พระภาคเจ้าก็ได้ตรัสคำนี้ไว้ว่า "ดูกรภิกษุทั้งหลาย อานาปานสติ ภิกษุเจริญทำให้มากแล้ว ย่อมยังสติปัฏฐาน ๔ ให้บริบูรณ์ สติ ปัฏฐาน ๔ ภิกษุเจริญทำให้มากแล้ว ย่อมยังวิชชาและวิมุติให้ บริบูรณ์" ดังนี้ อีกอย่างหนึ่ง ความที่อานาปานสตินั้นมีอานิสงส์มาก พึงทราบ โดยทำความรู้ลมอัสสาสะปัสสาสะที่เป็นจริมกะ (คือครั้งสุดท้าย) ก็ได้ สมคำที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัส (ในราหุโลวาทสูตร) ว่า "ดูกรราหุล เมื่ออานาปานสติ อันภิกษุเจริญแล้วอย่างนี้ ทำให้มากแล้วอย่างนี้แล แม้ลมอัสสาสะปัสสาสะอันเป็นจริมกะดับก็รู้ หาดับไม่รู้ไม่ ดังนี้ ในลมเหล่านั้น ว่าโดยความดับ มีจริมกะ ๓ คือ ภวจริมกะ (สุดด้วยอำนาจภาพ) ฌานจริมกะ (สุดด้วยอำนาจฌาน) จุติ จริมกะ (สุดโดยจุติ) ว่าข้างภพ ลมอัสสาสะปัสสาสะทั้งหลายย่อม เป็นไปในกามภพ หาเป็นไปในรูปภพและอรูปภพไม่ เพราะฉะนั้น ลมเหล่านั้น จึงชื่อภวจริมกะ (สุดด้วยอำนาจภพ) ว่าข้างฌาน ลม ๑. อง. นวก. ๒๓/๒๗๑ ๒. ม. อ. ๑๔/๑๙๓ ๓. ม. ม ๑๓/๑๔๒
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More