วิสุทธิมรรคแปล ภาค ๒ ตอน ๑ - โกฏฐาสและอุปมาน้ำเสียงพราน วิสุทธิมรรคแปล ภาค 2 ตอน 1 หน้า 38
หน้าที่ 38 / 266

สรุปเนื้อหา

ในบทนี้กล่าวถึงการปรากฏของโกฏฐาสในกระบวนการมนสิการที่มีลักษณะเฉพาะของโกฏฐาสแต่ละเหล่า รวมถึงการใช้ภาพอุปมาในการอธิบายวิธีการที่จิตใจตอบสนองต่อเสียงและการกระทำ เช่นเดียวกับที่พรานใช้เสียงในการไล่ลิงในดงตาลเป็นตัวอย่างของการดำเนินไปตามลำดับ และการหลบซ่อนเมื่อเผชิญกับความท้าทาย เรียนรู้วิธีการทำงานของจิตและเหตุการณ์ในวิสุทธิมรรค ทำให้เข้าใจลักษณะการปรากฏในโกฏฐาสต่าง ๆ ได้ชัดเจนยิ่งขึ้น.

หัวข้อประเด็น

-โกฏฐาสและมนสิการ
-อุปมาในจิตใจ
-การปรากฏในโกฏฐาส
-ประโยชน์ของการเปรียบเทียบ
-การศึกษาโครงสร้างจิตใจ

ข้อความต้นฉบับในหน้า

ประโยค๘ - วิสุทธิมรรคแปล ภาค ๒ ตอน ๑ - หน้าที่ 38 ดำเนินไปจนสุดโกฏฐาสต้น คือ เกสา นี้เหมือนกัน ทีนี้เมื่อมนสิการ ไป ๆ โกฏฐาสลางเหล่าก็ปรากฏ ลางเหล่าก็ไม่ปรากฏ โกฏฐาส เหล่าใด ๆ ปรากฏ เธอพึงทำงาน (มนสิการ) ในโกฏฐาสเหล่า นั้น ๆ ไปจนกว่าเมื่อโกฏฐาสปรากฏ (แต่) ๒ แล้ว ๒ นั้นเล่า อันหนึ่งย่อมปรากฏดีกว่า (อีกอันหนึ่ง) ก็และพระอาทิกัมมิกะผู้มนสิ การโกฏฐาสอันนั้นที่ปรากฏ (ดีกว่า) อย่างนั้นนั่นแลซ้ำแล้วซ้ำเล่า จะพึงยังอัปปนาให้เกิดขึ้นได้ (ต่อไป) นี้เป็นอุปมาในข้อนั้น เหมือนอย่างว่าพราน (ผู้หนึ่ง) ใคร่จะจับลิง (ตัวหนึ่ง) ซึ่งอยู่ในดงตาลอันมีต้นตาล ๓๒ ต้น จึงใช้ศร ยิงใบตาลต้นที่ยืนอยู่ต้นเพื่อนแล้วทำเสียงตะเพิด ทีนี้ ลิงนั้นก็จะพึง โผนไปที่ต้นตาลนั้น ๆ ตามลำดับจนถึงต้นท้ายเพื่อทีเดียว ครั้น พรานไปทำอย่างเดียวกันนั้นเข้าที่ต้นท้ายเพื่อนนั้นอีกเล่า มันก็จะพึง (โผนกลับ) มาท่านั้นแหละจนถึงต้นต้นเพื่อนอีก มันโผนไปตามลำดับ ต้นบ่อย ๆ เข้าอย่างนั้น (ก็ล้า ? ที่นี้มัน) จะถึงโผล่ขึ้นแต่ในที่ ๆ พรานทำเสียงตะเพิดไล่เท่านั้น (ถ้าไม่ตะเพิดก็ไม่โผล่) แล้วไป ๆ ก็จะหลบอยู่ที่ต้นตาลต้นหนึ่ง ยึดยอดตาลตูมอันสะอาด (ซึ่งอยู่) ตรง กลางต้นมันไว้มั่น แม้ถูกยิงก็ไม่โผล่ ฉันใด คำอุปไมยนี้ก็พึงเห็น ฉันนั้น (ต่อไป) นี้เป็นคำประเทียบอุปไมยกับอุปมา โกฏฐาส ๓๒ ในกายนี้เปรียบเหมือนตาล ๓๒ ต้นใจดงตาล จิต ตามในมหาฎีกาว่า ที่ว่าปรากฏนั้น คือปรากฏโดยลักษณะของโกฏฐาสนั้น ๆ
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More