ข้อความต้นฉบับในหน้า
ประโยค๘ - วิสุทธิมรรคแปล ภาค ๒ ตอน ๑ - หน้าที่ 215
เจริญอุเบกขาไปเถิด อันข้อที่ว่าบุคคลจักอุเบกขาด้วย จักยินดีและ
ยินร้ายไปด้วย นั่นเป็นอฐานะ (คือเป็นไปไม่ได้)
[เบื้องต้น ท่ามกลาง ที่สุด อารมณ์และการขยายอารมณ์
แห่งพรหมวิหาร]
อนึ่ง พรหมวิหารทุกข้อนั่น มีกัตตุกามตาฉันทะ (ฉันทะคือ
ความใคร่จะทำ) เป็นเบื้องต้น มีการข่มนิวรณ์ได้เป็นต้น เป็นท่าม
กลาง มีอัปปนาเป็นที่สุด ด้วยอำนาจบัญญัติธรรม จัดว่ามีเอกสัตว์
เป็นอารมณ์ หรือว่า (โดยสมมติธรรม ?) มีอเนกสัตว์เป็นอารมณ์
เมื่อถึงอุปจารหรืออัปปนาแล้ว การขยายอารมณ์จึงมีได้
ในการขยายอารมณ์นั้น บัณฑิตพึงทราบลำดับการขยาย (ดัง
ต่อไป) นี้ เหมือนอย่างชาวนาผู้ฉลาดกำหนดที่ ที่จะพึงไถแล้วจึง
ไถไปฉันใด พระโยคาวจรก็ฉันนั้น ชั้นแรกทีเดียวจึงกำหนดเอา
เรือนหลังหนึ่ง แล้วเจริญเมตตาไปในสัตว์ทั้งหลายในเรือนนั้น โดย
นัยว่า "ขอสัตว์ทั้งหลายในเรือนนี้จงเป็นผู้ไม่มีเวรเถิด" ดังนี้เป็นต้น
ทำจิตให้อ่อน ควรแก่การในภาวนา เฉพาะเรือนหลังหนึ่งนั้นแล้ว
จึงกำหนด ๒ หลัง ต่อนั้นจึงกำหนด ๓-๔-๕-๖-๗-๘-๘-๕-๑๐ หลัง
(แล้ว) ถนนสายหนึ่ง ครึ่งหมู่บ้าน หมู่บ้านหนึ่ง ชนบท (จังหวัด)
หนึ่ง ราชอาณาจักรหนึ่ง ทิศหนึ่ง โดยนัยดังนี้ไปจนกระทั่งจักรวาล
หนึ่ง หรือว่าจะพึงเจริญเมตตาไปในสัตว์ทั้งหลายในที่นั้น ๆ ยิ่งกว่านั้น
ๆ
· อาวาสในที่นี้ มิได้หมายถึงวัด แต่หมายถึงที่อยู่ของคนเป็นหลัง ๆ เพราะต่อไปมีกล่าวถึง
ถนนสายหนึ่ง หมู่บ้านหนึ่ง กล่าวใหญ่ขึ้นโดยลำดับ จึงแปลเอาความว่า "เรือน'