ข้อความต้นฉบับในหน้า
ประโยค๘ - วิสุทธิมรรคแปล ภาค ๒ ตอน ๑ - หน้าที่ 55
เอ็นสรีรธารกานั้น สัณฐานดังเชือกด้วย” ยังมีเอ็นอื่น ๆ เล็กกว่านั้น
สัณฐานดังเถากระพังโหมนั่นแหละ อื่น (อีก) เล็กกว่านั้น สัณฐาน
ดังสายพิณใหญ่ อื่น (อีก) สัณฐานดังเส้นด้วยอ้วน ๆ เอ็นที่หลังมือ
และเท้า สัณฐานดังตีนนก เอ็นที่ศีรษะ สัณฐานดังข่ายคลุมศีรษะ
ทารก เอ็นที่หลัง สัณฐานดังอวนเปียกที่เขาแผ่ไว้ในแดด เอ็นอัน
(แล่น) ไปตามองคาพยพใหญ่น้อยนั้น ๆ ที่เหลือ (จากที่กล่าว
แล้ว) มีสัณฐานดังเสื้อร่างแหที่สวมร่างกายไว้ โดยทิศ 'เอ็นเกิดใน
ทิศทั้ง ๒ โดยโอกาส มันยึดกระดูกในร่างกายทั้งสิ้นอยู่ โดยตัด
ตอน เบื้องล่าง กำหนดตัดด้วยพื้นที่มันตั้งอยู่บนกระดูก
เบื้องบน กำหนดตัดด้วยตำแหน่งที่มันตั้งจุดเนื้อและหนังอยู่ เบื้องขวาง
กำหนดตัดด้วยเอ็นด้วยกัน นี่เป็น (สภาคบริเฉท) ตัดตอนด้วยส่วน
ของตนแห่งเอ็นเหล่านั้น ส่วน (วิสภาคปริเฉท) ตัดตอนด้วยส่วน
ที่ผิดกับตน ก็เช่นเดียวกับผมนั่นแล
[กระดูก]
๑๐๐
๑๐๐
ท่อน
คำว่า อฏฐี - กระดูกทั้งหลาย คือ ยกเว้นกระดูกฟัน ๓๒ ซี่
เสีย ที่เหลือเป็นกระดูกประมาณ ชิ้น ดังนี้ คือ กระดูกมือ ๖๔
กระดูกเท้า ๖๔ กระดูกอ่อนที่ติดเนื้ออยู่ ๖๔ กระดูกซ่นเท้า ๒
กระดูกข้อเท้าข้างละ ๒ กระดูกแข็ง (ข้างละ) ๒ กระดูกเข่า (ข้างละ) ๑
กระดูกขา (ข้างละ) ๑ กระดูกสะเอว ๒ กระดูกสันหลัง ๑๘
າ
* เทียบดูกับประโยคหลัง ๆ แล้ว เห็นว่า อญฺเญ ปน... จิตา กับ ตโต สุขุมตรา
สุตฺตรชุชุกสณฺฐานา นี้เป็นประโยคเดียวกัน จึงควรถอนเครื่องหมายหัวตาปูหลัง จิตา เสีย