การนับเร็วในกรรมฐาน วิสุทธิมรรคแปล ภาค 2 ตอน 1 หน้า 116
หน้าที่ 116 / 266

สรุปเนื้อหา

เนื้อหานี้พูดถึงการนับเร็วในการฝึกกรรมฐาน โดยมีการเปรียบเทียบการนับกับการค้ำเรือในกระแสน้ำ เพื่อให้จิตหมายมั่นอยู่ในลม เมื่อผ่านการนับที่สม่ำเสมอ จะทำให้กรรมฐานปรากฏและไปได้โดยไม่มีช่องว่าง การตั้งสติและไม่ส่ายส่ายไปกับอารมณ์ที่ผุดขึ้นในจิตอย่างไร ทั้งนี้ความสม่ำเสมอในการนับคือกุญแจสำคัญของการภาวนาเพื่อให้จิตอ่านรู้ถึงความนิ่ง และทรงไว้ซึ่งการเจริญเติบโตทางจิตวิญญาณอย่างยั่งยืน. กล่าวได้ว่าการกำหนดลมทำให้จิตตั้งมั่นและนำไปสู่การสำเร็จในการภาวนา

หัวข้อประเด็น

-การนับเร็วในการภาวนา
-กรรมฐานที่เกี่ยวข้อง
-การตั้งสติในกรรมฐาน
-ความสำคัญของการนับเพื่อการตั้งมั่น

ข้อความต้นฉบับในหน้า

นับเร็ว ๆ ว่า ประโยค๘ - วิสุทธิมรรคแปล ภาค ๒ ตอน ๑ - หน้าที่ 116 ๑. ๒, ๓, ๔. ๕. ๑. ๒, ๓, ๔. ๕, ๖ ๑. ๒, ๓, ๔. ๕, ๖, ๗ ๑. ๒, ๓, ๔. ๕, ๖, ๗.๘ ๑. ๒, ๓, ๔. ๕, ๖, ๗, ๘. 8 ๑. ๒, ๓, ๔. 4. 5. 6. 6. 6. ๑๐ ๆ ฉันนั้น เพราะว่าในกรรมฐานที่เนื่องด้วยการนับ จิตจะมีอารมณ์ เดียวได้ก็ด้วยกำลังแห่งการนับเท่านั้น ดุจความหยุดของเรือในกระแส น้ำเชี่ยว จะมีได้ก็ด้วยอำนาจการค้ำไว้ด้วยถ่อฉะนั้น เมื่อเธอนับเร็ว อยู่อย่างนั้น กรรมฐานย่อมปรากฏ เป็นดังว่าเป็นไปไม่มีช่องว่าง ครั้นว่าเธอทราบว่า กรรมฐานเป็นไปไม่มีช่องว่าง ก็อย่ากำหนดลม ข้างในและข้างนอก จึงนับเร็ว ๆ โดยนัยที่กล่าวมาก่อนนั่นเถิด เพราะ ว่าเมื่อส่งจิตไปพร้อมกับลมที่เข้าข้างใน” จิตจะ (รู้สึก) เป็นเหมือน ถูกลมปะทะ และเหมือนเต็มไปด้วยมันข้นอยู่ข้างใน เมื่อปล่อยจิต ออกไปพร้อมกับลมที่ออกข้างนอก จิตก็จะแส่ส่ายไปในอารมณ์ต่าง ๆ ภายนอกเสีย ต่อเมื่อตั้งสติไว้ตรงโอกาสที่ลมกระทบภาวนาไปนั่นแล ภาวนาจึงจะสำเร็จได้ เพราะเหตุนั้น ข้าพเจ้าจึงว่า "อย่างกำหนดลม ๑. มหาฎีกาว่า นิรันตรปวัติ (เป็นไปไม่มีช่องว่าง) ก็คือจิตตั้งมั่นอยู่กับลม ไม่ส่ายมาส่ายไป นั่นเอง (?) ๒. วาตพภานต์ เมทปูริต วิย โหติ มหาฎีกาแก้เป็น ๒ อุปมาว่า วาเตน ต์ ฐานํ อนุภาคต วิย เมเทน ปูริต วัย จ โหติ ในที่นี้แปลตามฎีกา
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More