การเจริญเมตตาในตน วิสุทธิมรรคแปล ภาค 2 ตอน 1 หน้า 155
หน้าที่ 155 / 266

สรุปเนื้อหา

เนื้อหานี้กล่าวถึงการเจริญเมตตาที่ผู้คนควรมีต่อสัตว์ทั้งปวง โดยอธิบายความหมายและอาการของเมตตาที่เปิดเผยต่อกันและกัน รวมถึงการเจริญเมตตาในตนเองที่เชื่อมโยงกับความสุขและความเกษม. ในหลักพระพุทธศาสนาที่รายงานในวิสุทธิมรรค เราจะเห็นว่าการเจริญเมตตาในตัวเองมีความสำคัญในการสร้างความปรองดองในสังคม ด้วยความปรารถนาที่จะให้ทุกคนมีความสุขและไม่ต้องมีเวรต่อกัน. คนที่เจริญเมตตาก็จะทำให้เกิดผลดีต่อตนเองและผู้อื่น ช่วยให้สังคมเผชิญกับความทุกข์ยากด้วยใจที่มั่นคง.

หัวข้อประเด็น

-การเจริญเมตตา
-ความสุขในพระพุทธศาสนา
-ความหมายของเมตตา
-การปฏิบัติเพื่อความสงบ
-บทบาทของเมตตาในสังคม

ข้อความต้นฉบับในหน้า

ประโยค๘ - วิสุทธิมรรคแปล ภาค ๒ ตอน ๑ - หน้าที่ 155 ไปถึงสัตว์ทั้งปวงฉันนั้นนั่นแล" ดังนี้ก็ดี คำใดที่กล่าวไว้ในปฏิ สัมภิทาว่า "เมตตาเจโตวิมุติที่แผ่ไปโดยไม่เจาะจง ด้วยอาการ ๕ คือ อะไรบ้าง ? คือ (ด้วยอาการปรารถนา) ว่า สัตว์ทั้งหลายทั้งปวง จง เป็นผุ้ไม่มีเวร ไม่มีความเบียดเบียน ไม่มีความทุกข์ มีความสุขบริหาร ตนไปเถิด ปาณะทั้งหลายทั้งปวง... ภูตทั้งหลายทั้งปวง ... บุคคล ทั้งหลายทั้งปวง... ผู้เนื่องอยู่ในอัตภาพทั้งหลายทั้งปวง จงเป็นผู้ไม่มี เวร ไม่มีความเบียดเบียน ไม่มีความทุกข์ มีความสุขบริหารตนไป เถิด" ดังนี้เป็นอาทิก็ดี คำใดที่ตรัสไว้ในเมตตาสูตรว่า "สัตว์ ทั้งหลายทั้งปวง จงเป็นผู้มีความสุขความเกษม เป็นผู้มีตนถึงแล้ว ซึ่งความสำรา าญ" ดังนี้เป็นอาทิก็ดี คำในวิภังค์เป็นต้นนั้นก็ผิด (นะซิ) เพราะในคำนั้น มิได้ตรัสการเจริญ (เมตตา) ในตนไว้" ดังนี้ไซร้ พึงเฉลยว่า "คำในวิภังค์เป็นต้นนั้นไม่ผิดดอก เพราะอะไร เพราะ คำนั้นตรัสโดยเป็นภาวนาถึงอัปปนา (ส่วน) คำแผ่เมตตาในตน มีคำว่า "ขอเราจงเป็นผู้ถึงซึ่งความสุข" เป็นต้นนี้ ข้าพเจ้ากล่าวโดย ความ (ทำตน) เป็นพยาน จริงอยู่ แม้หากบุคคลจะเจริญเมตตาใน ตนโดยนัยว่า 'ขอเราจงเป็นผู้ถึงซึ่งความสุข" เป็นต้นนี้ ข้าพเจ้ากล่าวโดย ความ (ทำตน) เป็นพยาน จริงอยู่ แม้หากบุคคลจะเจริญเมตตาใน ตนโดยนัยว่า "ขอเราจงเป็นผู้ถึงซึ่งความสุข" ดังนี้เป็นต้น ไป ๑๐๐ ปี หรือ ๑,๐๐๐ ปี อัปปนาก็ไม่เกิดขึ้นแก่เขาได้เลย แต่ว่าเมื่อเจริญ (เมตตาในตน) ว่า 'ขอเราจงเป็นผู้ถึงซึ่งความสุข" ดังนี้เป็นต้นไป ความเป็นผู้ปรารถนาประโยชน์สุขในสัตว์อื่น ๆ ย่อมเกิดขึ้น (โดย) ทำตนให้เป็นพยานว่า "เราเป็นผู้รักสุขเกลียดทุกข์ และอยากเป็นอยู่ ๑. อภิ, วิ. ๒๕/๓๗๐ ๒, บุ, ป. ๓๑/๔๘๓
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More