การเรียนรู้เกี่ยวกับนิมิตในวิสุทธิมรรค วิสุทธิมรรคแปล ภาค 2 ตอน 1 หน้า 129
หน้าที่ 129 / 266

สรุปเนื้อหา

ในวิสุทธิมรรค ภิกษุที่พบกับนิมิตควรไปปรึกษาอาจารย์ และขึ้นอยู่กับคำแนะนำที่จะได้รับ อาจารย์ทั้งสองแบบมีวิธีแนะนำที่แตกต่างกันซึ่งอาจกระทบต่อการดำเนินการภาวนา พระทีฆภาณกาจารย์เสนอให้ใช้แนวทางที่อาจทำให้ภิกษุไม่หยุดพัก เพื่อตัดสินใจอย่างเข้าใจเกี่ยวกับนิมิต ขณะที่มัชฌิมภาณกาจารย์เสนอให้บอกตรง ๆ เพื่อส่งเสริมให้มีความมั่นใจมากขึ้นในการปฏิบัติ. เว็บไซต์ที่เกี่ยวข้อง dmc.tv

หัวข้อประเด็น

-การตีความนิมิต
-การแนะนำจากอาจารย์
-ผลกระทบต่อการปฏิบัติ
-ความมั่นใจในการภาวนา

ข้อความต้นฉบับในหน้า

ประโยค๘ - วิสุทธิมรรคแปล ภาค ๒ ตอน ๑ - หน้าที่ 129 [นิมิตปรากฏแล้วทำอย่างไร พระทีฆภาณกาจารย์ทั้งหลาย กล่าวอย่างนี้ก่อนว่า "ก็เมื่อนิมิต ปรากฏแล้วดังนี้ ภิกษุนั้นจึงไปหาอาจารย์แล้วเรียนว่า "ข้าแต่ท่านผู้ เจริญ อารมณ์รูปอย่างนี้ปรากฏแก่ข้าพเจ้า" ฝ่ายอาจารย์อย่าเพิ่งบอก ว่านั่นคือนิมิต หรือว่า ไม่ใช่นิมิต พึงกล่าวว่า "มันย่อมเป็นอย่าง นั้นแหละ อาวุโส (สำหรับผู้ประกอบภาวนา)" แล้วกล่าว (กำชับ) ว่า "เธอจงมนสิการอย่างนั้นบ่อย ๆ เข้าเถิด" เพราะว่า เมื่ออาจารย์ บอกว่า เป็นนิมิตเข้า เธอจะหยุดพักเสีย ครั้นบอกว่า ไม่ใช่นิมิต เธอก็จะหมดหวังท้อเสีย เพราะเหตุนั้น จึงไม่ควรบอกทั้ง ๒ อย่าง เป็นแต่กำชับในการมนสิการเท่านั้น ฝ่ายพระมัชฌิมภาณกาจารย์ทั้งหลายกล่าวว่า "โยคาวจรภิกษุนั้น เป็นผู้ที่อาจารย์ควรบอก (ตรง ๆ) ว่า "นี่ นิมิตละ อาวุโส เธอจง มนสิการกรรมฐานบ่อย ๆ เข้าเถิด สัตบุรุษ" ลำดับนั้น โยคาวจรภิกษุนั้นจึงตั้งจิตไว้ในนิมิตนั้นแหละ (ให้ * โดยนัยมหาฎีกา มติของอาจารย์ทั้ง ๒ ฝ่าย ก็มีทางเป็นได้ด้วยกัน คือ มติของพระทีฆภาณ กาจารย์ ที่ว่า ถ้าบอกว่าเป็นนิมิตเข้า เธอจะหยุดพักเสียนั้น ก็อาจเป็นได้ว่าเมื่อเธอรู้ว่าได้นิมิตแล้ว ก็จะคิดว่า "อันนิมิตนี้ยากที่จะทำให้เกิดขึ้น บัดนี้ นิมิตนั้นเราก็ได้แล้ว เอาละ เราจะต้องบรรลุ ธรรมวิเศษ เมื่อใดก็เมื่อนั้นแหละ" ดังนี้แล้วก็จะหย่อนความเพียรพักเสียบ้าง ครั้นบอกว่าไม่ใช่ นิมิต ก็จะคิดว่า "เราอุตส่าห์บำเพ็ญภาวนามานานถึงเพียงนี้แล้ว แม้แต่นิมิตก็ไม่เกิด เราจะเป็น คนอาภัพต่อธรรมวิเศษเสียละกระมัง" ดังนี้แล้วก็ท้อเสีย ส่วนมติของมัชฌิมภาณกาจารย์ที่ให้บอกตรงๆ นั้น ก็เป็นได้ว่า เมื่อพระโยคาวจรปฏิบัติด้วย ความมั่นใจว่า เธอจะต้องพ้นจากชรามรณะได้ด้วยปฏิปทาอันนี้ ครั้นทราบแน่ว่า นิมิตเกิดแล้ว ที่ไหน จะหย่อนเพียรเสีย มีแต่จะทำความอุตสาหะยิ่งขึ้นไปเสียอีก
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More