ข้อความต้นฉบับในหน้า
ประโยค๘ - วิสุทธิมรรคแปล ภาค ๒ ตอน ๑ - หน้าที่ 252
เนวสัญญานาสัญญายตนะ
ส่วนพระโยคาวจรภิกษุผู้ปรารถนาจะเจริญเนวสัญญานาสัญญายตนะ
(ต่อไป) จึงเป็นผู้ประพฤติวสีภาวะ (ทำให้ชำนิชำนาญ) ในอากิญ
จัญญายตนสมาบัติโดยอาการ ๕ แล้ว (พิจารณาให้) เห็นโทษใน
อากิญจัญญายตนะอย่างนี้ว่า "สมาบัตินี้มีข้าศึกคือวิญญาณัญจายตนะอยู่
ใกล้ และยังไม่ละเอียดดังเนวสัญญานาสัญญายตนะ หรือ (เห็นโทษ)
ว่าสัญญาเป็นดุจโรค สัญญาเป็นดุจผี สัญญาเป็นดุจลูกศร ธรรมชาต
นั่นละเอียด ธรรมชาตินั่นประณีต ธรรมชาตินั่นคืออะไร ธรรมชาต
นั่นก็คือเนวสัญญานาสัญญายตนะ" และ (เห็น) อานิสงส์ในคุณที่สูง
ขึ้นไป (คืออารูปที่ ๔) แล้ว ตัดความพอใจใจอากิญจัญญายตนะเสีย
ใส่ใจถึงเนวสัญญานาสัญญายตนะ โดยว่าเป็นธรรมละเอียด นึกหน่วง
เอาอากิญจัญญายตนสมาบัติ ที่ทำความไม่มีเป็นอารมณ์เป็นไปอยู่นั่น
แหละ มามนสิการไปปัจจเวกขณ์ไปเนือง ๆ ว่า สนฺตา สนฺตา ละเอียด
ละเอียด' ทำจนเป็นตักการตะ วิตักการตะ เมื่อเธอยังจิตให้ท่องไป
ในนิมิตนั้นเนือง ๆ อย่างนั้น นิวรณ์ทั้งหลายจะระงับ สติจะตั้งมั่น จิต
เป็นสมาธิชั้นอุปจาร เธอส้องเสพเจริญทำให้มากซึ่งนิมิตนั้นเนือง ๆ ไป
เมื่อเธอทำไปอย่างนั้น เนวสัญญานาสัญญายตนจิต ย่อมจะแนบแน่น
(เป็นอัปปนา) อยู่ในขันธ์ทั้ง ๔ กล่าวคือ อากิญจัญญายตนสมาบัติ
ดุจอากิญจัญญายตน (จิต) แนบแน่นอยู่ในความปราศไปแห่งวิญญาณ
ฉะนั้น ส่วนนัยแห่งอัปปนาในข้อนี้ ก็พึงทราบโดยนัยที่กล่าวแล้วนั่นเถิด
ๆ