วิสุทธิมรรคแปล ภาค ๒ ตอน ๑ วิสุทธิมรรคแปล ภาค 2 ตอน 1 หน้า 124
หน้าที่ 124 / 266

สรุปเนื้อหา

ในบทนี้มีการกล่าวถึงกรรมฐานและความสำคัญของการนำลมคืน โดยวิถีการปฏิบัติกรรมฐานนั้นจะต้องรักษาอิริยาบถให้อยู่ในสภาพที่สงบ และระลึกถึงลมอัสสาสะปัสสาสะ เพื่อทำความเข้าใจถึงสภาวะที่แท้จริงของการอยู่ในโลกนี้ ที่ไม่อยู่ในเงื่อนไขของการตายและการสลบ การคิดนี้นำไปสู่การสร้างจิตให้มั่นคงและเข้าใจถึงความเป็นจริงของประสบการณ์ด้านอารมณ์และการรับรู้ ผ่านการปฏิบัติกรรมฐานอย่างต่อเนื่องและมีสติอยู่ตลอดเวลา.

หัวข้อประเด็น

-กรรมฐาน
-ลมอัสสาสะปัสสาสะ
-อุบายนำลมคืน
-การศึกษาในวิสุทธิมรรค
-การตั้งจิตและการมีสติ

ข้อความต้นฉบับในหน้า

ประโยค๘ - วิสุทธิมรรคแปล ภาค ๒ ตอน ๑ - หน้าที่ 124 พึงคิดว่าจักไปถามอาจารย์ หรือ เข้าใจว่า บัดนี้ กรรมฐานของเรา เสื่อมเสียแล้ว ลุกไปเสีย เพร เพราะเมื่อเปลี่ยนอิริยาบถไป กรรมฐาน ก็กลายเป็นงานใหม่ไปใหม่เสียเท่านั้น เพราะฉะนั้น เธอนั่งอยู่ตามเดิม นั่นแหละ พึงนำ (ลม) มาจากตำแหน่ง (แห่งที่มันกระทบ) เถิด [อุบายนำลมคืน] (ต่อไป) นี้ เป็นอุบายนำ (ลมคืน) มา ในคำนั้น ภิกษุ นั้นรู้ภาวะคือความไม่ปรากฏแห่งกรรมฐานแล้ว จึงคิดดูเองดังนี้ว่า "อันลมอัสสาสะปัสสาสะนี้มีอยู่ที่ไหน ไม่มีที่ไหน มีแก่ใคร หรือ ไม่มีแก่ใคร" ทีนี้ เมื่อเธอคิดดูไปอย่างนั้น ก็จะทราบได้ว่า "ลม อัสสาสะปัสสาสะนี้ ไม่มีอยู่ภายในท้องของมารดา (๑) ไม่มีแก่พวก คนที่ดำลงในน้ำ (๑) อย่างเดียวกัน คือไม่มีแก่พวกคนที่สลบ (๑) คนตายแล้ว (๑) ผู้เข้าจตุตถฌาน (๑) ผู้ประกอบด้วยรูปภพและ อรูปภพ (๑) ผู้เข้านิโรธ (๑)" ฉะนี้แล้วจึงตักเตือนตนด้วยตนเอง ดังนี้ว่า "นี่แน่ะพ่อบัณฑิต ตัวเจ้ามิใช่ผู้อยู่ในท้องของมารดา มิใช่ผู้ดำ ลงในน้ำมิใช่ผู้สลบ มิใช่ผู้ตายแล้ว มิใช่ผู้เข้าจตุตถฌาน มิใช่ผู้ประกอบ ด้วยรูปภพและอรูปภพ มิใช่ผู้เข้านิโรธ มิใช่หรือ ลมอัสสาสะปัสสาสะ ของข้ามีอยู่แท้ แต่เจ้าไม่อาจกำหนดได้ เพราะความที่เจ้าเป็นคนมี ปัญญาอ่อนดอก" ต่อนั้น เธอจึงตั้งจิตไว้ตามที่ ๆ ลมกระทบโดยปกติ ยังมนสิการให้เป็นไปเถิด ก็ลมอัสสาสะปัสสาสะนี้ สำหรับคนจมูกยาว กระทบกระพุ้งจมูกเป็นไป สำหรับคนจมูกสั้น กระทบริมฝีปากบน เป็นไป เพราะฉะนั้น เธอจึงตั้งที่หมายไว้ว่า ลมกระทบที่ตรงนี้
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More