วิสุทธิมรรคแปล ภาค ๒ ตอน ๑ - หน้าที่ 61 วิสุทธิมรรคแปล ภาค 2 ตอน 1 หน้า 61
หน้าที่ 61 / 266

สรุปเนื้อหา

บทนี้อธิบายเกี่ยวกับการตัดตอนของหัวใจและตับ โดยระบุวิธีการตัดตอน เช่นการกำหนดส่วนต่าง ๆ ของหัวใจและตับ ตลอดจนรายละเอียดเกี่ยวกับพังผืดประเภทต่าง ๆ การวิเคราะห์โดยใช้ศัพท์เกี่ยวกับธรรมและการอธิบายลักษณะทางกายภาพของอวัยวะทั้งสอง และการเชื่อมโยงความรู้ที่เกี่ยวข้องกับการรู้สึกและสำนึกในบริบทของการศึกษาในพระพุทธศาสนา ข้อมูลนี้เป็นประโยชน์สำหรับผู้สนใจในธรรมะและการศึกษาทางจิตวิญญาณ

หัวข้อประเด็น

-ตัดตอนหัวใจ
-ลักษณะของตับ
-พังผืดประเภทต่าง ๆ
-การศึกษาในพระพุทธศาสนา
-ความสัมพันธ์ระหว่างจิตและร่างกาย

ข้อความต้นฉบับในหน้า

ประโยค๘ - วิสุทธิมรรคแปล ภาค ๒ ตอน ๑ - หน้าที่ 61 โดยตัดตอน หัวใจก็กำหนดตัดด้วยส่วนของหัวใจ นี่เป็น (สภาค บริเฉท) ตัดตอนด้วยส่วนของตนแห่งหัวใจนั้น ส่วน (วิสภาค บริเฉท) ตัดตอนด้วยส่วนที่ผิดกับตน ก็เช่นเดียวกับผมนั่นแล [ตับ] คำว่า ยกนํ - ตับ ได้แก่แผ่นเนื้อสองแฉก ตับนั้น โดยสี แดง (แต่) พื้นเหลือง (จึง) ไม่แดงจัด สีดังสีหลังกลีบบัวแดง โดย สัณฐาน ที่โคนเป็นแผ่นเดียว ที่ปลายเป็นสองแฉก สัณฐานดังใบทอง หลาง อนึ่ง ตับนั้น ของพวกคนโง่ เป็นแผ่นโตแผ่นเดียวเท่านั้น ของคนมีปัญญา เป็นแผ่นย่อม ๆ ๒ หรือ ๓ แผ่นก็มี โดยทิศ มัน เกิดในทิศเบื้องบน โดยโอกาส ตั้งอยู่หว่างนมทั้งสองค่อนไปข้าขวา โดยตัดตอน ตับที่กำหนดตัดด้วยส่วนของตับเอง นี่เป็น (สภาคบริเฉท) ตัดตอนด้วยส่วนของตนแห่งตับนั้น ส่วน (วิสภาคบริเฉท) ตัดตอน ด้วยส่วนที่ผิดกับตน ก็เช่นเดียวกับผมนั่นแล (พังผืด] ค คำว่า กิโลม-พังผืด ได้แก่เนื้อ (เยื่อ) สำหรับหุ้ม มี ๒ ประเภท โดยแยก เป็นพังผืดปกปิด และพังผืดเปิดเผย พังผืด ทั้ง ๒ อย่างนั้น โดยสี ขาวดังสีผ้าทุกูลเก่า" โดยสัณฐาน มีสัณฐาน ตามโอกาส (ที่อยู่) ของตน โดยทิศ พังผืดประเภทปกปิดเกิดใน * ผ้าทุกูล เป็นผ้าอย่างดีชนิดหนึ่ง ไม่ทราบว่าทำด้วยอะไร ท่านจึงมักใช้ศัพท์ว่า 'ทุกูลพัสตร์' มาเรื่อยๆ
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More