ประโยคที่ ๘ - วิสุทธิมรรคแปล ภาค ๒ ตอน ๑ วิสุทธิมรรคแปล ภาค 2 ตอน 1 หน้า 92
หน้าที่ 92 / 266

สรุปเนื้อหา

บทความนี้กล่าวถึงเสนาสนะที่เหมาะแก่การทำสมาธิและการภาวนาอย่างลึกซึ้ง โดยอธิบายถึงอานาปานสติกรรมฐานซึ่งเป็นปัจจัยสำคัญต่อการบรรลุธรรมและความสงบภายใน โยคาวจรจะพิจารณาเสนาสนะอย่างไรเพื่อให้การบำเพ็ญเจริญขึ้นได้ รวมถึงการเลือกสถานที่เพื่อหลีกเลี่ยงเสียงรบกวนและสร้างบรรยากาศที่เอื้อต่อการภาวนา.

หัวข้อประเด็น

-เสนาสนะที่เหมาะสรรหาสำหรับการภาวนา
-ความสำคัญของอานาปานสติกรรมฐาน
-การเลือกสถานที่สำหรับการทำสมาธิ
-ผลลัพธ์ของการภาวนาในสภาพแวดล้อมที่เหมาะสม

ข้อความต้นฉบับในหน้า

ประโยค๘ - วิสุทธิมรรคแปล ภาค ๒ ตอน ๑ - - หน้าที่ 92 เสนาสนะ (ที่กล่าวมา) นั่น เป็นที่เหมาะแก่การภาวนาแห่ง พระโยคาวจรนั้นด้วยประการฉะนี้ เหตุนั้น ข้าพเจ้าจึงกล่าวไว้ว่า คำนี้ เป็นคำแสดงถึงการกำหนดถือเอาเสนาสนะ อันเหมาะแก่การบำเพ็ญ อานาปานสติสมาธิแห่งโยคาวจรภิกษุนั้น ดังนี้ [เหตุที่ตรัส อรญฺญคโต ฯเปฯ นัยที่ ๒] อีกนัยหนึ่ง เพราะเหตุที่อานาปานสติกรรมฐานอันเป็นยอดใน ประเภทกรรมฐาน เป็นปทัฏฐานแห่งการบรรลุธรรมวิเศษและทิฏฐ ธรรมสุขวิหาร ของพระพุทธเจ้า พระปัจเจกพุทธ และพุทธสาวก ทั้งปวงนี้ มิใช่เป็นการง่ายที่จะไม่สละแดนบ้านอันจึงไปด้วยเสียงต่าง ๆ เช่นเสียงผู้หญิง เสียงผู้ชาย เสียงช้าง เสียงม้า แล้วบำเพ็ญขึ้นได้ เพราะฌานมีเสียงเป็นข้าศึก แต่ในที่มิใช่แดนบ้านคือในป่า (ละก็) เป็นการง่ายที่พระโยคาวจรจะถือกรรมฐานนี้ ยังอานาปานจตุตถฌาน ให้เกิดแล้วทำฌานนั้นแหละให้เป็นบาท พิจารณากองสังขารจนบรรลุ พระอรหัตอันเป็นผลสุดยอดได้ เพราะเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้า จะทรงแสดงเสนาสนะอันเหมาะแก่พระโยคาวจรนั้น จึงตรัสคำว่า อรญฺญคโต วา ดังนี้เป็ ดังนี้เป็นอาทิ [เหตุที่ตรัส อรญฺญคโต ฯเปฯ นัยที่ ๒] แท้จริง พระผู้มีพระภาคเจ้าเป็นดุจวัตถุวิชาจารย์ (อาจารย์ “วิชาชี้ที่) วัตถุวิชาจารย์พบภูมิอันควรจะสร้างเมืองเข้า ตรวจดู
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More