วิสุทธิมรรคแปล ภาค ๒ ตอน ๑ - การพิจารณาอานิจจา วิสุทธิมรรคแปล ภาค 2 ตอน 1 หน้า 139
หน้าที่ 139 / 266

สรุปเนื้อหา

บทนี้กล่าวถึงการพิจารณาความไม่เที่ยงในขันธ์ โดยเฉพาะวิธีการหายใจเข้าออกที่ช่วยให้เห็นความไม่เที่ยง นอกจากนี้ยังอธิบายถึงความคลายไปที่เกิดขึ้นในทุกขณะและประเภทของความคลาย ได้แก่ ขยวิราคะ และอัจจันตวิราคะ ซึ่งสัมพันธ์กับการฝึกฝนพระโยคาวจรในการพิจารณาเห็นความคลายไปเพื่อเข้าถึงพระนิพพาน.

หัวข้อประเด็น

-การพิจารณาไม่เที่ยง
-ขันธ์
-อนิจจานุปัสนา
-วิราคานุปัสนา
-พระโยคาวจร

ข้อความต้นฉบับในหน้า

ประโยค๘ - วิสุทธิมรรคแปล ภาค ๒ ตอน ๑ - หน้าที่ 139 ทั้งหลายเกิดมาแล้ว ไม่ตั้งอยู่ตามอาการ (ที่เกิดมา) นั้น สลายไป โดยขณภังคะ (คือดับไปทุกขณะ) ทีเดียว บทว่า อนิจจานุปัสนา คือการพิจารณาเห็นว่าไม่เที่ยง ในขันธ์ทั้งหลายมีรูปเป็นอาทิ ด้วย อำนาจแห่งอนิจจตา (ที่กล่าวมา) นั้น บทว่า อนิจจานุปัสสี ก็ได้แก่ พระโยคาวจรผู้ประกอบด้วยการพิจารณาเห็นนั้น เพราะฉะนั้น ภิกษุผู้ เป็นอย่างนั้นหายใจออกและหายใจเข้าอยู่ พึงทราบว่า ชื่อว่า สำเหนียก ว่า "เราจักเป็นผู้พิจารณาเห็นว่าไม่เที่ยง หายใจออกหายใจเข้า" ในที่นี้ (วิราคานุปสฺสี นิโรธานุปสฺสี] ส่วนในบทว่า วิราคานุปสฺสี นี้ วิราคะ (ความคลายไป) มี ๒ คือ ขยวิราคะ (ความคลายโดยสิ้นไป) ๑ อัจจันตวิราคะ (ความ คลายสุดยอด) ๑ ในวิราคะ ๒ อย่างนั้น ความสลายไปทุกขณะแห่ง สังขารทั้งหลาย ชื่อขยวิราคะ พระนิพพาน ชื่ออัจจันตวิราคะ วิปัสนาและมรรคอันเป็นไปโดยอนุปัสนา ๒ อย่างนั้น ชื่อว่าวิราคา นุปัสสนา พระโยคาวจรเป็นผู้ประกอบด้วยอนุปัสนาทั้ง ๒ อย่างนั้น หายใจออก และหายใจเข้าอยู่ พึงทราบว่า ชื่อว่า สำเหนียกว่า 'เราจักเป็นผู้พิจารณาเห็นความคลายไป หายใจออกหายใจเข้า นัยแม้ในบทว่า นิโรธานุปสฺสี ก็ดุจนัยนี้ * มหาฎีกาและให้ประกอบความว่า ขยวิราคานุปัสา สำหรับวิปัสนา อัจจันตวิราคานุปัสนา สําหรับมรรค
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More