ข้อความต้นฉบับในหน้า
ประโยค๘ - วิสุทธิมรรคแปล ภาค ๒ ตอน ๑ - หน้าที่ 206
นี้ และ
เป็นโอธิโสผรณาด้วยอาการ ๓ เป็นทิสาผรณาด้วยอาการ ๑๐
อานิสงส์ทั้งหลาย มีข้อว่า หลับเป็นสุข เป็นอาทิ บัณฑิตพึงทราบตาม
นัยที่กล่าวแล้วในเมตตาภาวนานั้นเทอญ
นี้เป็นกถาอย่างพิสดารในการเจริญมุทิตา
อุเบกขาพรหมวิหาร
ส่วนพระโยคาวจารผู้ใคร่จะเริ่มทำอุเบกขาภาวนา ออกจากฌาน
ที่ ๓ หรือที่ 4 อันคล่องแคล่ว ตามที่เป็นตึกฌานหรือจตุกฌาน ที่ตน
ได้ในภาวนา ๓ มีเมตตาภาวนาเป็นต้นแล้ว เห็นโทษในภาวนา ๔ ข้าง
ต้น เพราะเป็นภาวนาประกอบด้วยมนสิการอันเป็นไปโดยความรักใน
สัตว์ เนื่องด้วยความนึกแผ่ไปว่า ขอสัตว์ทั้งปวงจงเป็นผู้ถึงซึ่งความ
สุขเถิด ดังนี้เป็นต้น ๑ เพราะเป็นภาวนาที่ท่องเที่ยวอยู่ใกล้ความยิน
ร้าย (ปฏิฆะ) และความยินดี ๑ เพราะเป็นภาวนาที่ยังหยาบ เหตุยัง
ประกอบด้วยโสมนัส ๑ และ (เห็น) อานิสงส์ในอุเบกขาโดยความเป็น
ธรรมละเมียดแล้ว บุคคลใดเป็นกลาง ๆ อยู่โดยปกติของเธอพึ่งวางเฉย
กะบุคคลนั้น ยังอุเบกขาให้เกิดขึ้น ต่อนั้นจึงยังอุเบกขาให้เกิดขึ้นใน
บุคคลประเภทอื่น ๆ มีบุคคลที่รักเป็นอาทิ สมคำที่กล่าวไว้ (ในวิภังค์)
บทตติยาวิเสสนะข้างหน้า คือ ปฏิลาธติกจตุกฺกชฌาเนน กล่าวทั้งตึกฌาน และจตุก
ฌาน แล้วบทหลังจะมีกล่าวแต่ตติยฌานอย่างไรได้ ที่ถูกควรจะเป็น ปคุณตติยจตุตถฌานา
ในที่นี้แปลเพิ่มตามที่
เพิ่มตามที่เห็นว่าถูก ส่วนมหาฎีกาแก้..... ตติยฌานา เป็นตติยพรหมวิหารชุฌานโต
เห็นไม่สม เพราะไม่มีความตรงไหนส่อว่าจะพูดถึงเฉพาะมุทิตาในที่นี้เลย