ข้อความต้นฉบับในหน้า
ประโยค๘ - วิสุทธิมรรคแปล ภาค ๒ ตอน ๑ - หน้าที่ 233
ตลอดที่เท่าที่ต้องการ ทำในใจซึ่งโอกาสที่กสิณรูปนั้นแผ่ไปถึงว่า
'อากาโส อากาโส" - อากาศ อากาศ" หรือว่า 'อนนฺโต อากาโส-
อากาศเป็นอนันตะ" ดังนี้ไป ย่อมเพิกกสิณได้” ก็แลเมื่อเพิก หา
ใช่ม้วนเอาเหมือนม้วนเสื่อลำแพนไม่ หาใช่ยกเอาเหมือนยกขนมจา
กะทะไม่ เป็นแต่ไม่คิดถึง ไม่ทำในในถึง ไม่พิจารณาถึง กสิณนั้น
เสีย เท่านั้น และเมื่อไม่คิดถึง ไม่ทำในใจถึง ไม่พิจารณาถึง (กสิณ
นั้น) ทำในใจแต่โอกาสที่กสิณรูปแผ่ไปท่าเดียวว่า "อากาโส อากาโส
-อากาศ อากาศ" ดังนี้ ชื่อว่าเพ็กกสิณ ข้างกสิณเล่า เมื่อถูก
เพิก ก็ไม่ใช่หลุดขึ้น มิใช่กระจัดกระจายไป เป็นแต่อาศัยความไม่ทำ
ในใจถึงกสิณรูปนี้ และทำในใจแต่ว่า 'อากาโส อากาโส- อากาศ
อากาศ" ก็ได้ชื่อว่า ถูกเพิกแล้วเท่านั้น กสิณคฆาฏิมากาสนิมิต
(นิมิตคืออากาศตรงที่กสิณรูปเพิกไป) ก็ปรากฏขึ้น
คำว่า กสิญคุฆาฏิมากาล (อากาศตรงที่กสิณรูปเพิกไป) ก็ดี
คำว่า กสิณผฏฺโฐกาส (โอกาสเท่าที่กสิณแผ่ไป) ก็ดี คำว่า กสิณ
วิวิตฺโตกาส (โอกาสที่ว่างจากกสิณรูป) ก็ดี ทั้งหมดนี้ก็อันเดียวกัน
นั่นเอง
๑. ปาฐะเรียงอากาโสไว้บทเดียว ที่ถูกควรเป็น ๒ บท ถัดไปอีก ๔ บรรทัดก็มีเห็นเป็นตัวอย่างอยู่
๒. กสิณ์ ที่ถูกเป็นอวุตตกรรมในอุคฆาเฏติข้างหน้า แต่ปาฐะเรียงไว้ชิด อุคิฆาเมนโต ข้าหลัง
ชวนให้เข้าใจผิด
๓.
. ปาฐะในฉบับวิสุทธิมรรคเป็น กสิณุคุฆาฎิมากาสมาต์ เข้าใจว่าคลาดเคลื่อน เพราะบทนี้
เป็นกัตตาใน ปญฺญายติ และถัดไป ๒ บรรทัดก็มี กสิณคุฆาฏิมากาสนิมิตต์ เป็นพยานยันอยู่
ในที่นี้แก้และแปลตามที่เห็นว่าถูก