ข้อความต้นฉบับในหน้า
ประโยค๘ - วิสุทธิมรรคแปล ภาค ๒ ตอน ๑ - หน้าที่ 119
กระดานชิงช้า) ฉันใดก็ดี ภิกษุก็ฉันนั้นเหมือนกัน ยืนที่โคนเสา
อันเป็นที่ผูก (จิต คือปลายจมูก) ด้วยอำนาจแห่งสติ ไกวชิงช้าคือ
ลมอัสสาสะปัสสาสะแล้ว นั่งลงที่นิมิตนั้นแหละด้วยสติ เมื่อติดตามไป
ด้วยสติ ตั้งจิตไว้ (มั่น) ตรงที่ลมกระทบนั้นนั่นแหละ ย่อมเห็น ต้น
กลาง ปลาย ของลมอัสสาสะปัสสาสะ ในที่ ๆ มันมาและไปกระทบอยู่
โดยลำดับ แต่ไม่ขวนขวายที่จะดูมัน นี่เป็นอุปมาด้วยคนง่อย
ส่วนความ (ต่อไป) นี้เป็นอุปมาด้วยคนรักษาประตู คือ คน
รักษาประตูไม่ (เที่ยว) สอบสวนคน (ที่อยู่) ในเหมือนและนอกเมือง
ว่าท่านเป็นใคร หรือว่าท่านมาแต่ไหน หรือว่าท่านจะไปไหน หรือ
ว่าอะไรอยู่ในมือท่าน เพราะว่าคนเหล่านั้น มิใช้เป็นภาระของเขา
เขาจะสอบสวนแต่คนที่มา ๆ ถึงประตูเข้าเท่านั้น ฉันใจก็ดี ลมเข้า
ข้าในก็ดี ลมออกข้างนอกก็ดี ไม่เป็นภาระของภิกษุนี้ ลมที่มา ๆ ถึง
ช่อง (จมูก) เท่านั้นเป็นภาระ ฉันนั้นเหมือนกันและ นี่เป็นอุปมาด้วย
คนรักษาประตู
ส่วนอุปมาด้วยเลื่อย พึงทราบตั้งแต่ต้นไป ดังนี้
ก็และ คำ (ต่อไป) นี้ท่านกล่าวไว้ (ในปฏิสัมภิทามรรค) ว่า
นิมิต ลมอัสสาสะ ลมปัสสาสะ มิได้เป็นอารมณ์
ของจิตดวงเดียวกัน แต่เมื่อภิกษุไม่รู้ธรรม ๓ อย่าง
(นี้) ภาวนาก็ไม่สำเร็จ นิมิต ลมอัสสาสะ ลม
ปัสสาสะมิได้เป็นอารมณ์ของจิตดวงเดียว แต่เมื่อ
คือตั้งแต่ความที่เป็นอุปไมยไป