วิสุทธิมรรคแปล ภาค ๒ ตอน ๑ - คำอธิบายคำว่า อิธ ภิกฺขเว วิสุทธิมรรคแปล ภาค 2 ตอน 1 หน้า 90
หน้าที่ 90 / 266

สรุปเนื้อหา

ในคำสอนของศาสนานี้ คำว่า 'อิธ ภิกฺขเว' หมายถึง 'ดูกรภิกษุทั้งหลาย' ซึ่งแสดงถึงความสำคัญของศาสนาในการสร้างอานาปานสติสมาธิ พุทธพจน์นี้ชี้ชัดให้เห็นว่าศาสนานี้มีสมณะเฉพาะที่เป็นที่มาของการพัฒนาใจและความสามารถในด้านสมาธิ นอกจากนี้ยังกล่าวถึงการเลือกเสนาสนะที่เหมาะสมในการบำเพ็ญธรรมเพราะมีจิตที่เคยเพ่นพ่าน และการปฏิเสธลัทธิอื่นที่ไม่มีสมณะในแนวทางเดียวกัน ข้อความดังกล่าวสื่อถึงการกำหนดการปฏิบัติที่ถูกต้องต่อการเข้าถึงอรหัตผลและหนทางสู่การหลุดพ้น.

หัวข้อประเด็น

- อิธ ภิกฺขเว
- การศึกษาคำสอน
- อานาปานสติ
- สมาธิโดยการฝึกฝน
- ความสำคัญของสมณะในศาสนา

ข้อความต้นฉบับในหน้า

ประโยค๘ - วิสุทธิมรรคแปล ภาค ๒ ตอน ๑ - หน้าที่ 90 ตรัสคำว่า อิธ ภิกฺขเว เป็นต้น [แก้ อิธศัพท์] ในคำเหล่านั้น คำว่า อิธ ภิกฺขเว ภิกฺขุ แปลว่า "ดูกรภิกษุ ทั้งหลาย ภิกษุในศาสนานี้ เพราะอิธศัพท์ในพระบาลีนั้นนี้เป็นศัพท์ แสดงถึงศาสนา อันเป็นที่ก่อเกิดแห่งบุคคลผู้ทำอานาปานสติสมาธิ ทุกประการ ให้เกิดขึ้น และปฏิเสธความเป็นอย่างนั้นแห่งศาสนาอื่น สมพระพุทธพจน์นี้ว่า "ดูกรภิกษุทั้งหลาย สมณะมีอยู่ในศาสนานี้ เท่านั้น ฯลฯ วาทะ” (ลัทธิ) อื่น ๆ ว่างเปล่าจากสมณะทุกจำพวก" เพราะเหตุนั้น ข้าพเจ้าจึงแก้ (อิธ ภิกขุ) ว่า อิมสฺมึ สาสเน ภิกฺขุ -ภิกษุในศาสนานี้ (เหตุที่ตรัส อรญฺญคโต ฯเปฯ นัยที่ ๑ คำว่า "ไปสู่ป่าหรือโคนไม้หรือเรือนว่างก็ตาม" นี้เป็นคำแสดง ถึงการกำหนดคือเอาเสนาสนะ อันเหมาะแก่การบำเพ็ญอานาปานสติ สมาธิแห่งโยคาวจรภิกษุนั้น เพราะจิตของภิกษุนี้ (เคย) เพ่นพ่าน ไปตามอารมณ์ต่าง ๆ มีรูปารมณ์เป็นต้นมาเสียนาน ไม่ใคร่จะขึ้นสู่ ๑. มหาฎีกาว่า คำว่าทุกประการนี้หมายถึง ๑๖ ประการนั่นเอง ๒. สมเณภิ อญฺญาห์ ในจตุกกังคุตตระหน้า ๓๒๓ อันเป็นที่มาแห่งพระบาลีนี้ พิมพ์ไว้ เป็น สมเณภิ อญฺเญหิ แต่จะเป็นอย่างไหนก็ยากในการแปลทั้งนั้น อญฺญาหิ รูปเป็นอิตถีลิงค์ เป็นวิเสสนะของ สมเณหิ ไม่ได้ อญฺญา แปลว่า อรหัตผลได้ แต่อญญา ในอรรถนี้ไม่เคยมีรูปเป็นพหุวจนะ จึงเป็นอันตกไป อญเณหิ เป็นวิเสสนะของ สมเณ ได้ แต่ถ้าแปลไปตรง ๆ ว่า 'เหล่าอื่น ความไม่เป็นภาษา-ลัทธิอื่นว่างจากสมณะเหล่าอื่น เช่นนี้จึงยักเยื้องแปลว่า "ทุกจำพวก คือจะเป็นสมณะจำพวกที่ ๑ (โสดาบัน) จำพวกที่ ๒ (สกทาคามี) จำพวกที่ (อนาคามี) จำพวกที่ ๔ (อรหันต์) ก็ว่างทั้งนั้น ด
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More