ข้อความต้นฉบับในหน้า
ประโยค๘ - วิสุทธิมรรคแปล ภาค ๒ ตอน ๑ - หน้าที่ 203
นั้น ในบุคคลที่เป็นศัตรูกัน โดยอุบาย (วิธี) เดียวกันนั้น แต่ถ้าปฏิฆะ
(ความขึ้งเคียด) ในศัตรูเกิดขึ้นแก่เธอ โดยนัยที่กล่าวมาในก่อนนั้นไซร้
ปฏิฆะนั้น เธอก็พึงระงับเสีย ตามนัยที่กล่าวในเมตตาภาวนานั่นเถิด
อนึ่ง ในการแผ่กรุณาวิธีนี้ พระโยคาวจร ได้พบหรือได้ยินข่าวบุคคลผู้
ที่แม้ได้ทำความดีไว้ แต่มาประสบความเสื่อม มีความเสื่อมญาติ เสื่อม
เพราะเกิดโรค เสื่อมโภคทรัพย์เป็นต้น อย่างใดอย่างหนึ่งแล้ว ก็พึง
๔
เจริญกรุณาได้ทุกประการอย่างนี้ว่า "บุคคลผู้นี้ แม้ไม่มีความเสื่อม
เหล่านั้น แต่ก็เป็นผู้ชื่อว่ามีทุกข์อยู่นั่นเอง เพราะยังไม่ล่วงวัฏฏทุกข์"
ดังนี้แล้ว จึงทำสีมสัมเภท (รวมแดน) ในชนทั้ง 4 คือ ในตนเอง
ในบุคคลที่รัก ในบุคคลกลาง ๆ ในบุคคลที่เป็นศัตรู ตามนัยที่กล่าว
แล้วนั่นแหละ แล้วส้องเสพเจริญกระทำให้มากซึ่งนิมิตนั้นไป ก็ทำ
อัปปนาให้เจริญได้ด้วยอำนาจแห่งฌาน ๓ (ในจตุกนัย) และฌาน ๔
(ในปัญจกนัย) โดยนัยที่กล่าวแล้วในเมตตาภาวนานั่นแล
ๆ
ส่วนในอรรถกถาอังคุตร กล่าวลำดับ (อารมณ์ของกรุณาภาวนา)
ไว้ (ดัง) นี้ว่า 'บุคคลที่เป็นศัตรู พระโยคาวจรพึงเจริญกรุณาให้ก่อน
เพื่อน ทำจิตให้อ่อนในบุคคลที่เป็นศัตรูนั้นได้แล้ว จึงเจริญกรุณาให้คน
ทุคตะ แต่นั้น ให้บุคคลที่รัก ต่อนั้นให้ตน ดังนี้ ลำดับที่กล่าวใน
อรรถกถานี้ ไม่สมกับพระบาลี (ในวิภังค์) ที่มีคำว่า ทุคคติ ทุรูเปต์
(ยากแค้นแสนเข็ญ) เป็นต้น เพราะเหตุนั้น พระโยคาวจรจึงเริ่มทำ
ภาวนาในกรุณานี้ตามนัยที่กล่าวแล้วนั่นแหละ แล้วทำสีมสัมเภทยัง
อัปปนาให้เจริญเถิด เบื้องหน้าแต่นั้น วิกพพนา คือ กรุณาภาวนาเป็น