วิสุทธิมรรคแปล ภาค ๒ ตอน ๑ วิสุทธิมรรคแปล ภาค 2 ตอน 1 หน้า 258
หน้าที่ 258 / 266

สรุปเนื้อหา

เนื้อหานี้กล่าวถึงสัญญาในอารูปที่ ๔ ซึ่งมีลักษณะเฉพาะคือ เป็นสิ่งที่สามารถมีอยู่ได้ แต่ไม่นับว่าเป็นสัญญาที่ชัดเจนหรือไม่เป็นสัญญา ความเข้าใจนี้ช่วยชี้ให้เห็นถึงธรรมที่เกี่ยวข้อง เช่น เวทนา จิต ผัสสะ ซึ่งล้วนมีลักษณะที่มีอยู่ในที่แบบเดียวกัน สุดท้ายมีการเปรียบเทียบด้วยเรื่องน้ำมันทาบาตร เพื่ออธิบายว่าแม้จะมีสัญญาหรือเวทนา ก็ต้องมีความเข้าใจในธรรมที่แท้จริง

หัวข้อประเด็น

-ประเด็นเกี่ยวกับสัญญา
-อารูปที่ ๔
-การทำความเข้าใจธรรม
-บทบาทของอารมณ์และความรู้สึก

ข้อความต้นฉบับในหน้า

ประโยค๘ - วิสุทธิมรรคแปล ภาค ๒ ตอน ๑ - หน้าที่ 257 คือฌานมีสัญญาก็มิใช่ไม่มีสัญญาก็มิใช่) อีกอรรถวิกัปหนึ่ง นี้สัญญาใด ในอารูปที่ ๔ นี้ สัญญานั้นนับว่าเป็นสัญญาก็มิใช่แท้ เพราะไม่สามารถ จะทำสัญญากิจ (หน้าที่สัญญา) ที่ชัดแจ้งได้ จัดว่าไม่เป็นสัญญาก็มิใช่ เพราะเป็นสิ่งที่มีอยู่โดยความเป็นเศษสังขารที่ละเอียด เพราะเหตุนั้น สัญญานั้นจึงชื่อ เนวสัญญานาสัญญา (สัญญาที่นับว่าเป็นสัญญาก็มิใช่ ไม่เป็นสัญญาก็มิใช่) เนวสัญญานาสัญญาด้วย เนวสัญญานาสัญญานั้น เป็นอายตนะ โดยอรรถว่าเป็นที่อาศัยอยู่แห่งธรรมที่เหลือ (คือสัมปยุต ธรรม) ด้วย เหตุนั้นจึงชื่อ เนวสัญญานาสัญญายตนะ ก็แลในอารูปที่ ๔ นี้ สัญญาแต่เพียงอย่างเดียวเป็นเช่นนั้นก็หา มิได้ ที่แท้ แม้เวทนาก็เป็น เนวเวทนานาเวทนา- เป็นเวทนาก็มิใช่ ไม่เป็นเวทนาก็มิใช่ แม้จิตก็เป็น เนวจิตตินาจิตต์- เป็นจิตก็มิใช่ ไม่เป็นจิตก็มิใช่ แม้ผัสสะก็เป็น เนวผสฺโสนาผสฺโส - เป็นผัสสะก็มิใช่ ไม่เป็นผัสสะก็มิใช่ ในสัมปยุตธรรมที่เหลือทั้งหลายก็นัยนี้ เพราะ (พระธรรม) เทศนานี้ บัณฑิตพึงทราบว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงทำ โดย (ยก) สัญญาเป็นประธาน อนึ่ง ความข้อนี้บัณฑิตจึงทำให้ กระจ่างด้วยอุปมาทั้งหลาย เริ่มแต่เรื่องน้ำมันทาบาตรไป (ดังนี้) เล่ากันว่าสามเณรทาบาตรด้วยน้ำมันแล้วตั้ง (เก็บ) ไว้ ถึงเวลา ดื่มยาคู พระเถระเรียกเธอให้นำบาตรมา เธอเรียนว่า "ในบาตร มีน้ำมัน ขอรับ" ทีนั้นครั้งพระเถระบอกว่า "นำมาเถิด สามเณร เราจักเติมกะโหลกน้ำมันไว้" ก็เรียนว่า "ไม่มีดอกของรับ น้ำมัน"
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More