การวิเคราะห์ธาตุพิการในวิสุทธิมรรค วิสุทธิมรรคแปล ภาค 2 ตอน 1 หน้า 77
หน้าที่ 77 / 266

สรุปเนื้อหา

บทความนี้กล่าวถึงการกระจายของธาตุพิการ ซึ่งมีลักษณะคล้ายหยาดน้ำมันที่กระจายอย่างน้ำใส นอกจากนี้ยังอธิบายถึงน้ำลาย (เขโฬ) ว่าเป็นอาโปธาตุที่เกิดจากการตอบสนองต่ออาหารและความรู้สึกของสัตว์ การวิเคราะห์องค์ประกอบและการทำงานของน้ำลาย เพื่อให้เข้าใจถึงบทบาทที่สำคัญในการช่วยย่อยอาหารให้มีประสิทธิภาพ นอกจากนี้ยังมีการเปรียบเทียบกับการเก็บน้ำในบ่อซึ่งไม่รู้จักสิ้นสุด จึงสื่อถึงการมีอยู่ของน้ำลายในสัตว์ที่เป็นส่วนสำคัญของกระบวนการทางชีววิทยา.

หัวข้อประเด็น

- การกระจายของธาตุพิการ
- อาโปธาตุและการทำงานในร่างกาย
- การเกิดน้ำลายและบทบาทในกระบวนการย่อยอาหาร
- เปรียบเทียบกับธรรมชาติและชีวิตสัตว์

ข้อความต้นฉบับในหน้า

ประโยค๘ - วิสุทธิมรรคแปล ภาค ๒ ตอน ๑ - - หน้าที่ 77 และธาตุพิการ เมื่อนั้น มันจึงจะกระจายไปทางโน้นทางนี้ในที่เหล่านั้น ดังหยาดน้ำมันที่ซ่านไปบนน้ำใสในเวลาล้าง (มัน) ฉะนั้น โดยตัดตอน กำหนดตัดด้วยส่วนของมันเหลวเอง นี่เป็น (สภาคบริเฉท) ตัดตอน ด้วยส่วนของตนแห่งมันเหลวนั้น ส่วน (วิสภาคบริเฉท) ตัดตอน ด้วยส่วนที่ผิดกับตน ก็เช่นเดียวกับผมนั่นแล [เขโฬ - น้ำลาย] คำว่า เขโฬ - น้ำลาย คืออาโปธาตุที่ประสมขึ้นเป็นฟองภายใน ปาก น้ำลายนั้น โดยสี ขาวดังสีฟองน้ำ โดยสัณฐาน มีสัณฐาน ตามโอกาส (ที่อยู่ของมัน) แม้จะว่าสัณฐานดังฟองน้ำก็ได้ โดย ทิศ เกิดในทิศเบื้องบน โดยโอกาส มันลงจากกระพุ้งแก้มทั้ง ๒ ข้าง มาอยู่ที่ลิ้น แต่ว่ามันมิได้ขังอยู่ที่นั่นทุกเมื่อดอก ต่อเมื่อใด สัตว์ ทั้งหลายเห็นหรือนึกถึงอาหารอย่างนั้น (คืออย่างที่ชวนน้ำลายออก) เข้าก็ดี วางอาหารมีรสร้อน ขม เผ็ด เค็ม เปรี้ยว อะไร ๆ ลงไป ในปากก็ดี หรือว่า เมื่อใด หัวใจของสัตว์เหล่านั้นละเนี่ยไปก็ดี ความ สะอิดสะเอียนเกิดขึ้นในอะไร ๆ ก็ดี เมื่อนั้น น้ำลายจึงเกิดขึ้นลงจาก กระพุ้งแก้มทั้ง ๒ ข้างมาอยู่ที่ลิ้น อนึ่ง น้ำลายนั้นที่ลิ้นทางปลายมี น้อย ที่ลิ้นทางโคนมีมาก และมันไม่รู้จักสิ้นไปเลย ดังน้ำในบ่อที่ขุด ไว้ในหาดทราบไม่รู้จักสิ้นฉะนั้น สามารถจะยังข้าวเม่าหรือข้าวสารหรือ ของขบเคี้ยว (ที่ดูดน้ำลาย ?) อะไร ๆ อื่นก็ตาม ที่ใส่เข้าไปในปาก ให้เปียกชุ่มได้ โดยตัดตอน กำหนดตัดด้วยส่วนของน้ำลายเอง นี่
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More