ข้อความต้นฉบับในหน้า
ประโยค๘ - วิสุทธิมรรคแปล ภาค ๒ ตอน ๑ - หน้าที่ 128
เพราะกรรมฐานนี้เกิดจากสัญญา มีสัญญาเป็นเหตุ มีสัญญาเป็นแดนเกิด
เพราะฉะนั้น พึงทราบว่า ย่อมปรากฏได้ต่าง ๆ กัน เพราะมีสัญญาต่างกัน
[ย้ำเรื่องธรรม ๓ ข้อ]
အာ
အာ
ก็ในกรรมฐานนี้ จิตที่มีลมอัสสาสะเป็นอารมณ์ เป็นจิตดวงหนึ่ง
จิตที่มีลมปัสสาสะเป็นอารมณ์ ก็เป็นจิตดวงหนึ่ง จิตที่มีนิมิตเป็น
อารมณ์ ก็เป็นจิตดวงหนึ่งแท้ อันธรรม ๓ ข้อนี้ ของผู้ใดไม่มี
กรรมฐานของผู้นั้นย่อมไม่ถึงอัปปนา ไม่ถึงอุปจารเลยทีเดียว แต่ธรรม
ข้อนี้ของผู้ใดมีอยู่ กรรมฐานของผู้นั้นแหละ ย่อมถึงอุปจารด้วย
อัปปนาด้วย จริงอยู่ คำนี้ ท่านกล่าวไว้ (ในปฏิสัมภิทามรรค) ว่า
นิมิต ลมอัสสาสะ ลมปัสสาสะ มิได้เป็น
อารมณ์ของจิตดวงเดียวกัน แต่เมื่อภิกษุไม่รู้
ธรรม ๓ อย่าง (นี้) ภาวนาก็ไม่สำเร็จนิมิต
ลมอัสสาสะ ลมปัสสาสะ มิได้เป็นอารมณ์
ของจิตดวงเดียวกัน แต่เมื่อภิกษุรู้ธรรม
อย่าง (นี้) ภาวนาย่อมสำเร็จ
* ปาฐะในวิสุทธิมรรคว่า เนว อปปน น อุปจาร์ ปาปุณาติ เรียงอัปปนาไว้ก่อนอุปจาร
ผิดลำดับอย่างไรอยู่ ไม่เห็นมีความจำเป็นอย่างไรเลยที่จะเรียงอย่างนั้น ปาฐะต่อไปบรรทัดล่างก็มี
ว่า... อุปจารญจ อปปนญจ ปาปุณาติ ถูกลำดับดี ตรงนี้มหาฎีกาแก้ไว้ว่า "น อุปจารยุติ
อุปาจารมฺปิ น ปาปุณาติ ปเคว อปปนนฺติ อธิปหาโย-คำว่าไม่ถึงอุปจาร อธิบายว่า แม้อุปจาร
ก็ยังไม่ถึง จะกล่าวอะไรถึงอัปปนาเล่า" ดังนี้ น่าจะเข้าใจว่า ตรงนี้มีแต่ น อุปจาร์ ส่วน เนว
อปปนํ เกิน ถ้าตัด เนว อปปน ออก ความจะสนิทดีกว่า