ข้อความต้นฉบับในหน้า
ประโยค๘ - วิสุทธิมรรคแปล ภาค ๒ ตอน ๑ - หน้าที่ 42
ประกอบอธิจิตพึงมนสิการปัคคหนิมิตส่วนเดียวเท่านั้นไซร้ ย่อมเป็น
ได้ที่จิต (ของเธอ) จะพึงเป็นข้างอุทธัจจะเสีย ถ้าภิกษุผู้ประกอบ
อธิจิตพึงมนสิการอุเบกขานิมิตส่วนเดียวเท่านั้นไซร้ ย่อมเป็นได้ที่จิต
(ของเธอ) จะไม่พึงตั้งมั่นถูกทางเพื่อสิ้นอาสวะทั้งหลาย ต่อเมื่อ
ภิกษุผู้ประกอบอธิจิต มนสิการสมาธินิมิต ปัคคหนิมิต อุเบกขานิมิต
ตามกาลอันควร จิต (ของเธอ) นั้นจึงจะเป็นจิตอ่อน ควรแก่การ
เป็นจิตผ่องใสและไม่แตก ตั้งมั่นถูกทางเพื่อสิ้นอาสวะทั้งหลาย อุปมา
เหมือนช่างทองหรือลูกมือช่างทอง ก่อเตาเข้า ครั้นก่อเตาแล้ว ก็สุมเบ้า
ครั้งสุมเบ้าแล้วใช้คีมจับทองวางลงไปในเบ้าแล้ว (สูบ) เป่าไปตามกาล
อันควร (ถ้าไฟแรงร้อนมากไปก็) พรมน้ำ (ที่ทอง) ตามากาลอันควร
(ถ้าไฟพอดีก็) ดูอยู่เฉย ๆ ตามกาลอันควร ภิกษุทั้งหลาย หากว่า
ช่างทองก็ตาม ลูกมือช่างทองก็ตาม จะพึง (สูบ) เป่าทองนั้นไป
ส่วนเดียวไซร้ ย่อมเป็นได้ที่ทองนั้นจะพึงไม้ไป หากช่างมองก็ตาม
ลูกมือช่างทองก็ตาม พรมน้ำทองนั้นไปท่าเดียวไซร้ ย่อมเป็นได้ที่
ทองนั้นจะพึงเย็นเสีย หากช่างทองก็ตาม ลูกมือช่างทองก็ตาม (พัก)
ดูทองนั้นอยู่เฉย ๆ ไปอย่างเดียวไซร้ ย่อมเป็นได้ที่ทองนั้นจะไม่พึงถึง
ซึ่งความสุกดี ต่อเมื่อช่างทองก็ดี ลูกมือช่างทองก็ดี (สูบ) เป่าทอง
นั้นไปตามกาลอันควร พรมทน้ำทองนั้นไปตามกาลอันควร (พัก)
ดูทองนั้นอยู่เฉย ๆ ตามกาลอันควร ทองนั้นจึงจะอ่อน ควรแก่
การ เป็นทองสุกปลั่งและไม่เปราะ ใช้การได้ดี แม้นช่างทองประสงค์
(จะทำเป็น) เครื่องประดับชนิดใด ๆ เป็นเข็มขัดก็ดี เป็นตุ้มหูก็ดี