วิธีการศึกษาและเตรียมตัวเพื่อการเรียนรู้ด้วยตนเอง GB 406 สรรพศาสตร์ในพระไตรปิฏก หน้า 10
หน้าที่ 10 / 373

สรุปเนื้อหา

บทความนี้เสนอวิธีการเตรียมตัวเพื่อการศึกษาด้วยตนเอง โดยเน้นการศึกษาแต่ละบทในพระไตรปิฎก นักศึกษาควรใช้เวลา 1 ชั่วโมงต่อวัน และศึกษาให้จบภายใน 1-2 สัปดาห์ ควรทำแบบฝึกหัดก่อนและหลังเรียน เพื่อทดสอบความรู้ นอกจากนี้ยังแนะนำให้ใช้สื่อการเรียนการสอนจากการศึกษาทางไกลผ่านดาวเทียม การประเมินผลตนเองก่อนและหลังเรียนก็มีความสำคัญในการวัดความก้าวหน้าในความรู้ หลังจากศึกษาบทเรียนแล้วให้บันทึกสาระสำคัญและปฏิบัติกิจกรรมที่กำหนดไว้ ซึ่งจะช่วยให้นักเรียนประเมินความเข้าใจในสิ่งที่อ่านได้ ตลอดจนสร้างความได้เปรียบในการนำความรู้ไปใช้ในชีวิตประจำวันได้อย่างมีประสิทธิภาพ

หัวข้อประเด็น

-การเตรียมตัวเพื่อการเรียนรู้
-การประเมินตนเอง
-การศึกษาเอกสารการสอน
-การศึกษาแบบมีประสิทธิภาพ

ข้อความต้นฉบับในหน้า

วิธีการศึกษา 1. การเตรียมตัวเพื่อการศึกษาด้วยตนเอง การศึกษาแต่ละบทของชุดวิชาสรรพศาสตร์ในพระไตรปิฎก นักศึกษาควรปฏิบัติดังนี้ ก. ใช้เวลาศึกษาวันละ 1 ชั่วโมง และควรศึกษาให้จบบทภายใน 1-2 สัปดาห์ ข. ควรทำแบบฝึกหัดก่อนบทเรียน เพื่อทดสอบความรู้ความเข้าใจ และทำกิจกรรมใน ระหว่างบทเรียนตามที่กำหนดไว้ เมื่อได้ศึกษาบทเรียนเสร็จแล้ว ควรตรวจสอบความรู้ความเข้าใจ ในบทเรียนด้วยการทำแบบฝึกหัดท้ายบท ค. ควรศึกษาประกอบกับสื่อการสอน โดยเฉพาะจากการศึกษาทางไกลผ่านดาวเทียม (มีระบุรายละเอียดในข้อที่ 5) 2. การประเมินผลตนเองก่อนและหลังเรียน ขอให้นักศึกษาทำแบบประเมินผลตนเองก่อนเรียนในกิจกรรมแต่ละบท เพื่อวัดพื้น ความรู้เดิมของนักศึกษาว่ามีความรู้ในเนื้อหาที่จะศึกษามากน้อยเพียงใด และควรมุ่งสนใจใน เนื้อหาใดที่นักศึกษายังขาดความรู้หรือมีความรู้น้อย หลังจากศึกษาเอกสารการสอนโดยตลอด ทั้งบทแล้ว ขอให้นักศึกษาทำแบบประเมินตนเองหลังเรียนในกิจกรรมท้ายบท ซึ่งจะช่วยให้ นักศึกษาสามารถทราบได้ว่าได้รับความรู้เพิ่มขึ้นจากเดิมมากน้อยเพียงใด และมีความรู้ใน เนื้อหาอยู่ในเกณฑ์พอที่จะข้ามไปศึกษาบทต่อไป ได้หรือไม่ เกณฑ์ที่ถือว่าพอใช้คือตอบถูก ประมาณร้อยละ 80 ของแบบประเมินผลตนเองก่อนหรือหลังเรียนแต่ละชุด ขอให้นักศึกษาจึง ตระหนักว่าการทำแบบประเมินผลตนเองก่อนและหลังเรียนด้วยความซื่อสัตย์ต่อตนเองเท่านั้นจึง จะได้ผล 3. การศึกษาเอกสารการสอน ก่อนศึกษาเนื้อหาในแต่ละบท ขอให้ศึกษาแผนการสอนประจำบท โดยดูว่าในบทนั้น ๆ มีกี่ตอน มีหัวเรื่องอะไรบ้าง ให้ศึกษาแนวคิดและวัตถุประสงค์ แล้วจึงศึกษารายละเอียดต่อไป เมื่ออ่านรายละเอียดของแต่ละเรื่องในแต่ละตอนจบแล้ว ควรบันทึกสาระสำคัญของ แต่ละเรื่องและปฏิบัติกิจกรรมที่กำหนดไว้ในท้ายบท ก่อนจะศึกษาเรื่องอื่น ๆ ต่อไป การปฏิบัติ กิจกรรมนี้จะช่วยให้นักศึกษาสามารถประเมินผลตนเองได้ว่า นักศึกษามีความเข้าใจในสิ่งที่ อ่านมากน้อยเพียงใด อันจะเป็นประโยชน์ต่อการนำไปใช้ในชีวิตประจำวันได้อย่างถูกต้องและ มีคุณค่าต่อชีวิตอย่างแท้จริง ฉะนั้นนักศึกษาจึงควรปฏิบัติกิจกรรมทุกอย่างด้วยตนเองและอย่าง ต่อเนื่อง วิ ธี ก า ร ศึ ก ษ า DOU (9)
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More