การบริหารเศรษฐกิจในระดับมหภาคตามหลักการพระพุทธศาสนา GB 406 สรรพศาสตร์ในพระไตรปิฏก หน้า 228
หน้าที่ 228 / 373

สรุปเนื้อหา

บทความนี้นำเสนอแนวทางการบริหารเศรษฐกิจในระดับประเทศตามหลักการของพระพุทธศาสนา โดยเน้นความสำคัญของการสั่งสมบุญและการขวนขวายสร้างฐานะ รวมถึงบทบาทของรัฐบาลในการส่งเสริมให้ประชาชนมีความเข้าใจเรื่องบุญ และให้มีการประกอบอาชีพที่ถูกต้องตามหลักศีลธรรม ทั้งนี้ การบริหารเศรษฐกิจที่ดีจะส่งผลให้เศรษฐกิจของประเทศเติบโตอย่างต่อเนื่องและมั่นคง

หัวข้อประเด็น

-การบริหารเศรษฐกิจ
-บทบาทของรัฐบาล
-การสั่งสมบุญ
-การขวนขวายสร้างฐานะ
-เศรษฐกิจในพระไตรปิฎก

ข้อความต้นฉบับในหน้า

รู้จักเก็บรักษาทรัพย์ คบมิตรดี และใช้จ่ายอย่างพอดี ส่วนความยากจนก็เกิดจากการไม่สั่งสม อริยทรัพย์คือบุญและไม่ขวนขวายสร้างฐานะ เบื้องหลังของเศรษฐกิจในระดับประเทศก็เกิดจากสาเหตุ 2 ประการดังกล่าว คือ บุญ โดยรวมของคนทั้งประเทศ และการขวนขวายสร้างฐานะของคนทั้งประเทศ หากประเทศใดที่บุญ โดยรวมของคนทั้งประเทศมีมาก และประชาชนโดยส่วนใหญ่ขวนขวายในการสร้างฐานะ สภาพ เศรษฐกิจของประเทศนั้นก็จะดีอยู่ในระดับแถวหน้าของโลก ส่วนประเทศใดที่บุญโดยรวมของ คนทั้งประเทศมีน้อยและประชาชนโดยส่วนใหญ่ก็ไม่ขวนขวายสร้างฐานะ สภาพเศรษฐกิจของ ประเทศนั้นก็จะไม่ดี อย่างไรก็ตามรัฐบาลหรือคณะผู้ปกครองแต่ละประเทศก็มีบทบาทสำคัญอย่างยิ่งใน การบริหารจัดการเศรษฐกิจของประเทศ โดยหลักการบริหารนั้นจะต้องส่งเสริมประชาชนในสิ่ง ที่สำคัญ 2 ประการ คือ 1) ส่งเสริมประชาชนให้มีความเข้าใจเรื่องบุญและสั่งสมบุญมากๆ 2) ส่งเสริมประชาชนให้ขวนขวายสร้างฐานะด้วยหลักหัวใจเศรษฐี อันหมายรวมถึงการ ส่งเสริมประชาชนให้ประกอบอาชีพที่ไม่ผิดศีลธรรม เช่น มิจฉาวณิชชา และควบคุมกำจัด แหล่งอบายมุขทั้งหลาย หากประเทศใดผู้ปกครองปฏิบัติตามหลักการทั้ง 2 ประการนี้ จะทำให้เศรษฐกิจของ ประเทศดี เติบโตอย่างต่อเนื่องและแข็งแกร่งมั่นคง วิธีการบริหารเศรษฐกิจในระดับมหภาคของกษัตริย์หรือคณะผู้ปกครองแคว้นต่างๆ ในพระไตรปิฎกนั้น ปรากฏชัดเจนในกฏทันตสูตรว่าด้วยการบริหารเศรษฐกิจของพระเจ้ามหา วิชิตราช ซึ่งกล่าวไว้แล้วในบทที่ 6 เรื่องรัฐศาสตร์ในพระไตรปิฎก สำหรับบทนี้จะกล่าวถึงอีกครั้ง โดยเน้นเฉพาะเรื่องเศรษฐกิจ และจะกล่าวเสริมวิธีการบริหารเศรษฐกิจในสมัยพุทธกาลด้วย การบริหารเศรษฐกิจของพระเจ้ามหาวิชิตราช จากเนื้อหาในกูฏทันตสูตรซึ่งกล่าวไว้ว่า พระเจ้ามหาวิชิตราชทรงทำสงครามแผ่ขยาย อาณาจักรออกไปกว้างขวาง ผลของสงครามทำให้เศรษฐกิจของประเทศตกต่ำ จนเกิดปัญหา โจรปล้นบ้านปล้นเมือง โจรเหล่านี้เป็นโจรเพราะความยากจนบีบคั้น ไม่ได้เป็นโจรเพราะ สันดานคือความโลภบีบคั้น พระโพธิสัตว์ในฐานะเป็นปุโรหิตมองเห็นปัญหานี้ได้ทะลุปรุโปร่งจึง ถวายคำแนะนำพระราชาให้แก้ปัญหาเศรษฐกิจด้วยการส่งเสริมประชาชนให้ขวนขวายทำมา หากินโดยช่วยเหลือคนระดับล่าง 3 กลุ่มซึ่งขยันทำมาหากินดังนี้ บทที่ 8 เศรษฐศาสตร์ ในพระไตรปิฎก DOU 217
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More