ข้อความต้นฉบับในหน้า
จำนวนมาก ได้แก่ พระผู้สำเร็จ หรือ พระบังบด เช่น หลวงปู่พูสี เป็นต้น ซึ่งมีอายุถึง 400 กว่าปี
เป็น 1 ใน 6 ของพระบังบดที่มีอยู่ ณ ภูเขาควาย ประเทศลาว
จากตัวอย่างที่กล่าวมานี้ชี้ให้เห็นว่าการประพฤติพรหมจรรย์นั้นเป็นเหตุให้มีสุขภาพแข็ง
แรงและอายุยืน ทั้งนี้อาจจะเป็นเพราะไม่ต้องหมกมุ่นอยู่กับเรื่องกามราคะและไม่ต้องทนทุกข์กับ
ปัญหาทางครอบครัวและสังคมแบบชาวโลก มุ่งหน้าศึกษาพระธรรมวินัยและประพฤติปฏิบัติ
ธรรมเป็นหลัก ส่วนคฤหัสถ์ก็สามารถประพฤติพรหมจรรย์ได้ ด้วยการรักษาศีล 8 ในวันสำคัญ
ทางพระพุทธศาสนาต่าง ๆ เช่น วันพระหรือช่วงเข้าพรรษา เป็นต้น
11.2.2 การดูแลสุขภาพจิตใจ
จากที่กล่าวแล้วในบทที่ 5 ว่า จิตใจนั้นมีความสำคัญมากกว่าร่างกาย เพราะจิตใจเป็น
นาย ส่วนร่างกายเป็นบ่าว เมื่อจิตใจมีความสำคัญอย่างนี้ การดูแลสุขภาพจิตใจจึงมีความ
สำคัญเป็นอย่างยิ่ง
พระสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสว่า ภาวะปกติของจิตใจมนุษย์จะ “ประภัสสรคือสว่างไสว
บริสุทธิ์” แต่เพราะมีกิเลสเข้ามาห่อหุ้มทำให้จิตใจเศร้าหมอง ไม่สว่างไสว และไม่เข้มแข็ง เวลา
มีอะไรมากระทบใจเข้าหน่อยก็จะหวั่นไหวไปกับสิ่งนั้น เช่น ทำให้เกิดความโกรธบ้าง หรือบางครั้ง
ก็เกิดความทุกข์เศร้าเสียใจในเรื่องต่างๆ จนเกินไป หรือมีความเครียดกับการทำงานบ้าง สิ่ง
เหล่านี้ล้วนเป็นเหตุให้เจ็บป่วยได้ทั้งสิ้น
การดูแลสุขภาพจิตใจให้กลับสู่ภาวะปกติคือบริสุทธิ์ สว่างไสวนั้น ทำได้ด้วยการสั่งสม
บุญด้วยการให้ทาน รักษาศีล สวดมนต์ เจริญสมาธิภาวนา ฟังธรรม เป็นต้น ซึ่งสิ่งเหล่านี้เป็น
กิจวัตรประจำวันของพุทธบริษัททั้ง 4 ที่ต้องทำเป็นประจำอยู่แล้ว
บุญนั้นจะช่วยชำระล้างกิเลสในจิตใจให้เบาบางลงไปเรื่อย ๆ ยิ่งกิเลสเบาบางลงไป
มากเท่าไร ความบริสุทธิ์ของจิตใจก็มีมากเท่านั้นและจะกลับคืนสู่ภาวะปกติมากเท่านั้นเช่นกัน
โดยอาการแสดงออก คือความเป็นผู้มีใจนิ่ง หนักแน่น มั่นคง ไม่หวั่นไหวต่อสิ่งที่มากระทบ จุด
สูงสุดของภาวะปกติของจิตใจคือ การละกิเลสได้หรือหมดบรรลุเป็นพระอรหันต์นั่นเอง
1 พระราชภาวนาวิสุทธิ์ (2549). “เหลือเชื่อแต่ก็เป็นความจริง” [ออนไลน์]. www.dmc.tv.
322 DOU สรรพ ศ า ส ต ร์ ในพระไตรปิฎก