ข้อความต้นฉบับในหน้า
(7) นี้เป็นอาบัติเบา นี้เป็นอาบัติหนัก
(8) นี้เป็นอาบัติมีส่วนเหลือ คือ ต้องเข้าแล้วยังไม่ขาดจากความเป็นภิกษุ นี้เป็น
อาบัติหาส่วนเหลือมิได้ คือ ต้องเข้าแล้วขาดจากความเป็นภิกษุ
(9) นี้เป็นอาบัติชั่วหยาบ นี้เป็นอาบัติไม่ชั่วหยาบ
เมื่อภิกษุทั้งหลายวิวาทกันด้วยเหตุ 9 ประการนี้แล้ว ทำให้เกิดความบาดหมาง ความ
ทะเลาะ ความแก่งแย่ง ความทุ่มเถียง และ การกล่าวเพื่อความกลัดกลุ้มใจ เป็นต้น
มูลเหตุหรือสาเหตุในระดับรากเหง้าที่ทำให้เกิดวิวาทาธิกรณ์เหล่านี้ขึ้นนั้นพระสัมมา
สัมพุทธเจ้าตรัสว่าคือ กิเลส ทั้ง 3 ตระกูล คือ โลภ โกรธ หลง อันแสดงออกมาในรูปของความ
มักโกรธ ความลบหลู่ ตีเสมอ อิสสาคือความหึงหวงและความชิงชัง ความตระหนี่ ความอวดดี
เจ้ามายา ความปรารถนาลามก มีความเห็นผิด และการเป็นผู้ถือความเห็นของตนอย่างแน่นแฟ้น
ภิกษุรูปใดที่เป็นเช่นนี้ จะเป็นเหตุให้ไม่มีความเคารพยำเกรงในพระศาสดา ในพระธรรม ใน
พระสงฆ์ และย่อมไม่มีความก้าวหน้าในการปฏิบัติธรรม จะยังการวิวาทให้เกิดในสงฆ์
นอกจากกิเลสทั้ง 3 ตระกูล คือ โลภ โกรธ หลง ดังกล่าวแล้ว พระสัมมาสัมพุทธเจ้า
ยังตรัสว่า การวิวาทกันในเรื่องธรรมวินัยนั้น บางครั้งเกิดขึ้นจากจิตที่เป็นกุศลคือ จิตที่ไม่โลภ
ไม่โกรธ และไม่หลง กล่าวคือ การวิวาทในลักษณะนี้อาจจะเริ่มต้นด้วยการสนทนาธรรมกัน
ตามปกติ แต่เมื่อเกิดความเห็นขัดแย้งกันจึงนำไปสู่การวิวาทกันได้
7.10.2 อนุวาทาธิกรณ์ : การโจทกันด้วยอาบัติ
พระสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสว่า ภิกษุทั้งหลายในธรรมวินัยนี้ ย่อมโจทคือฟ้องร้องภิกษุ
ด้วยศีลวิบัติหรืออาบัติคือการผิดศีล, อาจารวิบัติคือมารยาทเสื่อมเสีย, ทิฐิวิบัติคือความเห็นผิด
อาชีววิบัติคือการเลี้ย
การเลี้ยงชีพในทางที่ผิด เช่น การใบ้หวย การเป็นหมอดู การเป็นหมอรักษาโรค
การประกอบอาชีพอย่างฆราวาสอื่นๆ เป็นต้น นี้เรียกว่าอนุวาทาธิกรณ์
มูลเหตุแห่งอนุวาทาธิกรณ์นั้นมีอย่างน้อย 4 ประการ ใน 2 ประการแรก คือ เหมือน
กับมูลเหตุแห่งวิวาทาธิกรณ์คือ กิเลส ทั้ง 3 ตระกูลคือ โลภ โกรธ หลง อันแสดงออกมาในรูป
ของความมักโกรธ ความลบหลู่ ตีเสมอ ฯลฯ เป็นเหตุให้จ้องเอาผิดกันแล้วจึงโจทด้วยอาบัติ เป็นต้น
และ มูลเหตุเกิดขึ้นจากจิตที่เป็นกุศล กล่าวคือ โจทด้วยความหวังดี เพื่อให้ผู้ที่ถูกโจทปรับปรุง
ตัวจะได้มีความเจริญรุ่งเรืองในพระธรรมวินัย
บ ท ที่
7 นิ ติ ศ า ส ต ร์ ในพระไตรปิฎก DOU 185