ข้อความต้นฉบับในหน้า
กระจุกกาแล็กซี (Cluster of galaxies)
กาแล็กซี่มิได้อยู่กระจายตัวด้วยระยะห่างเท่า ๆ กัน หากแต่อยู่รวมกันเป็นกลุ่ม (Group)
หรือกระจุก (Cluster) โดยกลุ่มกาแล็กซีของเรา (The Local Group) ประกอบด้วยกาแล็กซีมากกว่า
10 กาแล็กซี กาแล็กซีเพื่อนบ้านของเรา มีชื่อว่า “กาแล็กซีแอนโดรมีดา” (Andromeda galaxy)
อยู่ห่างออกไป 2.3 ล้านปีแสง กลุ่มกาแล็กซี่ท้องถิ่นมีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 10 ล้านปีแสง
ซูเปอร์คลัสเตอร์ (Supercluster)
ซูเปอร์คลัสเตอร์ ประกอบด้วยกระจุกกาแล็กซีหลายกระจุก ซูเปอร์คลัสเตอร์ของเรา
(The local supercluster) มีกาแล็กซี่ประมาณ 2 พันกาแล็กซี ตรงใจกลางเป็นที่ตั้งของ
“กระจุกเวอร์โก” (Virgo cluster) ซึ่งประกอบด้วยกาแล็กซี่ประมาณ 50 กาแล็กซี อยู่ห่างออก
ไป 65 ล้านปีแสง กลุ่มกาแล็กซี่ท้องถิ่นของเรา กำลังเคลื่อนที่ออกจากกระจุกเวอร์โก ด้วยความเร็ว
400 กิโลเมตร/วินาที
เอกภพ (Universe)
“เอกภพ” หมายถึง อาณาบริเวณโดยรวม ซึ่งบรรจุทุกสรรพสิ่งทั้งหมด นักดาราศาสตร์
ยังไม่ทราบว่า ขอบของเอกภพสิ้นสุดที่ตรงไหน แต่พวกเขาพบว่ากระจุกกาแล็กซีกำลังเคลื่อนที่
ออกจากกัน นั่นแสดงให้เห็นว่าเอกภพกำลังขยายตัว เมื่อคำนวณย้อนกลับนักดาราศาสตร์พบว่า
เมื่อก่อนทุกสรรพสิ่งเป็นจุดๆ เดียว เอกภพถือกำเนิดขึ้นด้วย “การระเบิดใหญ่” (Big Bang)
เมื่อประมาณ 13,000 ล้านปีมาแล้ว
เอกภพที่นักดาราศาสตร์สามารถสังเกตการณ์ได้ในปัจจุบันอยู่ภายในรัศมี 14,000
ล้านปีแสง โดยประกอบด้วย ซูเปอร์คลัสเตอร์ (Super Cluster) 270,000 กลุ่ม กระจุกกาแล็กซี
(Cluster of galaxies) 500 ล้านกลุ่ม มีกาแล็กซีประมาณ 110,000 ล้านกาแล็กซี โดย
กาแล็กซีขนาดใหญ่มี 10,000 ล้านกาแล็กซี กาแล็กซีแคระหรือกาแล็กซีขนาดเล็กมี 100,000
ล้านกาแล็กซี และมีดวงดาวที่สามารถสังเกตการณ์ได้ประมาณ 20 ล้านล้านล้านดวง
คลื่นวิทยุลึกลับในกาแล็กซีทางช้างเผือก
นักดาราศาสตร์ค้นพบว่า มีแหล่งกำเนิดคลื่นวิทยุกระจายจากทิศต่าง ๆ ในท้องฟ้าทั่วไป
หมดทั้ง ๆ ที่กาแล็กซีทางช้างเผือกของเรามีรูปร่างแบนคล้ายชิ้นแพนเค้ก ระบบสุริยะของเราอยู่
* รอฮิม ปรามาส (2547). “เอกภพ สรรพสิ่ง และมนุษยชาติ” หน้า 26.
บทที่ 3 ความรู้พื้นฐานเรื่องเอกภพ DOU 59