นิติศาสตร์ในพระไตรปิฎก GB 406 สรรพศาสตร์ในพระไตรปิฏก หน้า 172
หน้าที่ 172 / 373

สรุปเนื้อหา

เนื้อหานี้สำรวจแนวคิดเกี่ยวกับนิติศาสตร์ในพระไตรปิฎก โดยเน้นที่พระวินัย ซึ่งเป็นกฎเกณฑ์ที่ควบคุมความประพฤติของพระภิกษุอย่างละเอียด ทั้งนี้พระวินัยจะมีการทบทวนทุก 15 วัน เพื่อให้ภิกษุทุกคนสามารถเข้าใจและปฏิบัติตามได้อย่างถูกต้อง แตกต่างจากกฎหมายทางโลกซึ่งไม่ได้มีการศึกษาหรือการทบทวนอย่างต่อเนื่อง นอกจากนี้ยังกล่าวถึงคุณสมบัติของพระวินัยธรที่ถือเป็นนักกฎหมายในทางธรรม และวัตถุประสงค์ในการให้ความรู้เกี่ยวกับนิติศาสตร์ในพระไตรปิฎก เช่น องค์ประกอบและตัวอย่างของสิกขาบทในพระปาฏิโมกข์ รวมถึงการประชุมทบทวนสิกขาบททุกกึ่งเดือน ซึ่งช่วยพัฒนาความเข้าใจในนิติศาสตร์ที่มีความสำคัญทั้งในเชิงคุณธรรมและการปฏิบัติจริง

หัวข้อประเด็น

-นิติศาสตร์ในพระไตรปิฎก
-พระวินัยในพระไตรปิฎก
-กรรมวิธีการบัญญัติสิกขาบท
-การทบทวนพระวินัย
-คุณสมบัติของพระวินัยธร
-อธิกรณ์ในพระไตรปิฎก

ข้อความต้นฉบับในหน้า

แนวคิด 1. นิติศาสตร์ในพระไตรปิฎกนั้นคือพระวินัย ได้แก่ พระวินัย 227 สิกขาบทของ พระภิกษุซึ่งเป็นกฎระเบียบสำหรับควบคุมความประพฤติของพระภิกษุให้เรียบร้อย 2. พระวินัยแต่ละสิกขาบทนั้นมีการแจงแจงรายละเอียดชัดเจนมากทั้งนี้เพื่อให้พระภิกษุ มีความเข้าใจอย่างแจ่มชัดไม่คลุมเครือ สามารถปฏิบัติตามได้ถูกต้อง และมีการประชุมทบทวน พระวินัยกันทุก 15 วัน เพื่อให้ภิกษุทุกรูปจำได้อย่างแม่นยำ ซึ่งต่างกับกฎหมายทางโลกที่รัฐ ไม่มีระบบการศึกษากฎหมายแก่ประชาชนอย่างทั่วถึงและต่อเนื่องเช่นนี้ 3. พระวินัยทุกสิกขาบทเป็นพุทธบัญญัติทั้งสิ้น กล่าวคือ พระสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์ เดียวเท่านั้นที่บัญญัติขึ้น ส่วนพระสาวกเป็นผู้ศึกษาและปฏิบัติตามเท่านั้น ด้วยเหตุนี้พระวินัย ทุกข้อจึงมีสมบูรณ์และศักดิ์สิทธิ์ใช้ได้ยาวนาน ส่วนกฎหมายทางโลกนั้นเนื่องจากผู้ร่างยังไม่ หมดกิเลสและความรู้ยังไม่สมบูรณ์จึงต้องอาศัยการระดมความคิด ตัดสินด้วยเสียงส่วนใหญ่ และมีการปรับปรุงแก้ไขเป็นระยะๆ 4. คุณสมบัติของพระวินัยธรซึ่งถือเป็นนักกฎหมายในทางธรรมนั้น มีการกำหนด คุณสมบัติที่ชัดเจนว่าจะต้องมีความรู้คู่ศีลธรรม วัตถุประสงค์ เพื่อให้นักศึกษามีความรู้ ความเข้าใจหลักนิติศาสตร์ในพระไตรปิฎกดังนี้ คือ ความ เป็นมาของกฎหมายในพระไตรปิฎก, พระวินัยคือกฎหมายในพระไตรปิฎก, องค์ประกอบของ สิกขาบท, ขั้นตอนการบัญญัติสิกขาบท, หมวดหมู่และจำนวนสิกขาบท, ตัวอย่างสิกขาบทใน พระปาฏิโมกข์, สิกขาบทเป็นพุทธบัญญัติมิใช่มติคณะสงฆ์, การประชุมทบทวนสิกขาบททุกกึ่ง เดือน, อธิกรณ์ในพระไตรปิฎก, อธิกรณสมถะธรรมเครื่องระงับอธิกรณ์ และพระวินัยธรนัก กฎหมายในพระธรรมวินัย บ ท ที่ 7 นิ ติ ศ า ส ต ร์ ใน พระไตรปิฎก DOU 161
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More