ข้อความต้นฉบับในหน้า
โครงสร้างของเอกภพแบ่งอย่างกว้างๆ ได้ 3 ส่วน คือ กาแล็กซี (Galaxy) กระจุกกาแล็กซี
(Cluster of galaxies) และ ซูเปอร์คลัสเตอร์ (Supercluster) แต่หากแบ่งย่อยออกไปอีกตาม
รูปภาพโครงสร้างของเอกภพในหน้าที่ผ่านมาจะได้ดังนี้
โลก (The Earth)
โลกของเรามีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 12,756 กิโลเมตร โลกอยู่ห่างจากดวงอาทิตย์
150 ล้านกิโลเมตร แสงอาทิตย์ต้องใช้เวลาเดินทางนาน 8 นาทีกว่าจะถึงโลก
ระบบสุริยะ (Solar System)
ประกอบด้วยดวงอาทิตย์เป็นดาวฤกษ์อยู่ตรงศูนย์กลาง มีดาวเคราะห์ 9 ดวง เป็นบริวาร
โคจรล้อมรอบ ดาวเคราะห์แต่ละดวง อาจมีดวงจันทร์เป็นบริวารโคจรล้อมรอบอีกทีหนึ่ง ดาวพลูโต
อยู่ห่างจากดวงอาทิตย์ 6 พันล้านกิโลเมตร แสงอาทิตย์ต้องใช้เวลาเดินทางนานมากกว่า 5
ชั่วโมงกว่าจะถึงดาวพลูโต
ดาวฤกษ์เพื่อนบ้าน (Stars)
ดาวฤกษ์แต่ละดวงอาจมีระบบดาวเคราะห์เป็นบริวาร เช่นเดียวกับระบบสุริยะของเรา
ดาวฤกษ์แต่ละดวงอยู่ห่างกัน เป็นระยะทางหลายล้านล้านกิโลเมตร ดาวฤกษ์ที่อยู่ใกล้ที่สุด
ของดวงอาทิตย์ชื่อ “ปร็อกซิมา เซนทอรี” (Proxima Centauri) อยู่ห่างออกไป 40 ล้านล้าน
กิโลเมตร หรือ 4.2 ปีแสง ดาวฤกษ์ซึ่งมองเห็นเป็นดวงสว่างบนท้องฟ้า ส่วนมากจะอยู่ห่างไม่
เกิน 2,000 ปีแสง
ปีแสง หมายถึง หน่วยของการวัดระยะทางในเอกภพ ซึ่ง 1 ปีแสง เท่ากับระยะทางที่
แสงเดินทางได้ในระยะเวลา 1 ปีตามเวลาบนโลก โดยใน 1 วินาที แสงจะเดินทางได้ประมาณ
300,000 กิโลเมตร
กาแล็กซี (Galaxy)
กาแล็กซี คือ อาณาจักรของดวงดาว กาแล็กซีทางช้างเผือกของเรา มีรูปร่างเหมือน
กังหัน มีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 1 แสนปีแสง ประกอบด้วยดาวฤกษ์ประมาณ 1 พันล้านดวง
ดวงอาทิตย์ของเราอยู่ห่างจากใจกลางของกาแล็กซีเป็นระยะทางประมาณ 3 หมื่นปีแสง หรือ
2 ใน 3 ของรัศมี
science-new. (2551). “ตำแหน่งของโลกในจักรวาล” [ออนไลน์]. แหล่งที่มา http://www.lesa.in.th/1/
earth_in_cosmos/earth_in_cosmos.html.
58 DOU สรรพ ศ า ส ต ร์ ในพระไตรปิฎก