อริยทรัพย์และการศึกษาทางเศรษฐศาสตร์ GB 406 สรรพศาสตร์ในพระไตรปิฏก หน้า 38
หน้าที่ 38 / 373

สรุปเนื้อหา

บทความนี้พูดถึงอริยทรัพย์และประเภทของเศรษฐศาสตร์ โดยแบ่งออกเป็นเศรษฐศาสตร์มหภาคและจุลภาค ทั้งนี้ยังกล่าวถึงเป้าหมายของเศรษฐศาสตร์ที่มุ่งแสวงหาทางเพื่อให้ประชาชนอยู่ดีกินดี พร้อมทั้งการวิเคราะห์อุปสงค์และอุปทานที่มีผลต่อราคาสินค้าในตลาด การศึกษานี้เป็นพื้นฐานสำคัญในการเข้าใจระบบเศรษฐกิจและสามารถนำไปประยุกต์ใช้ในการวางแผนพัฒนาเศรษฐกิจในระดับทั้งประเทศ.

หัวข้อประเด็น

-อริยทรัพย์
-ประเภทของเศรษฐศาสตร์
-เป้าหมายของเศรษฐศาสตร์
-อุปสงค์และอุปทาน

ข้อความต้นฉบับในหน้า

อริยทรัพย์ 1 ส่วนทรัพยากรการผลิต หมายถึง ทรัพยากรที่นำมาผลิตสินค้าและบริการ แบ่งเป็น 4 ประเภท คือ ที่ดิน แรงงาน ทุน และ ผู้ประกอบการ 2.) ประเภทของเศรษฐศาสตร์ 2.1) เศรษฐศาสตร์มหภาค คือ การศึกษาเศรษฐกิจทั้งระบบหรือทั้งประเทศ ได้แก่ รายได้ประชาชาติ ความสัมพันธ์ระหว่างรายได้ การบริโภค การออม การลงทุน และระดับการ จ้างงานโดยทั่วไป การใช้จ่ายของรัฐบาล การเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ และการพัฒนาเศรษฐกิจ ของประเทศ เป็นต้น 2.2) เศรษฐศาสตร์จุลภาค คือ การศึกษาเศรษฐกิจของหน่วยย่อย เช่น ครัวเรือน หน่วยธุรกิจ บริษัท ห้างร้านต่าง ๆ การกำหนดราคาของสินค้าแต่ละชนิด ต้นทุนและปริมาณ การผลิตของสินค้าแต่ละชนิด การกำหนดราคาของปัจจัยการผลิต เป็นต้น 3.) เป้าหมายของเศรษฐศาสตร์ เป้าหมายสูงสุดของเศรษฐศาสตร์โดยเฉพาะระดับมหภาคนั้นคือการศึกษาเพื่อแสวงหา แนวทางทำให้ประชาชนในประเทศอยู่ดีกินดี (Maximize Social Welfare) กล่าวคือ จะต้อง ทำให้เศรษฐกิจของประเทศดี มีการจ้างงานอย่างเต็มที่ เศรษฐกิจเติบโตอย่างต่อเนื่อง มีการ กระจายรายได้อย่างทั่วถึงคือ รายได้ไม่กระจุกตัวอยู่ในกลุ่มใดกลุ่มหนึ่ง แต่มีการกระจายไปสู่ มือของประชาชนทั่วทุกครัวเรือน ปัญหาความอดอยากยากจนได้รับการจัดการแก้ไข เป็นต้น 4.) อุปสงค์และอุปทาน 4.1) อุปสงค์ (Demand) คือ ปริมาณความต้องการสินค้า ณ เวลาใดเวลาหนึ่ง โดย ความต้องการดังกล่าวนี้ต้องเป็นความต้องการที่สามารถจ่ายได้ แต่โดยทั่วไปเมื่อระดับราคา สินค้าเพิ่มขึ้นหรือสินค้าแพงขึ้นความต้องการสินค้าชนิดนั้นจะลดลง 4.2) อุปทาน (Supply) คือ ปริมาณเสนอขายสินค้า ณ เวลาใดเวลาหนึ่ง โดยทั่วไป เมื่อระดับราคาสินค้าเพิ่มขึ้นหรือสินค้าแพงขึ้น ผู้ขายจะยินดีเสนอขายสินค้าในปริมาณที่เพิ่มขึ้น เมื่อใดที่สินค้าถูกขายในตลาด ณ ระดับราคาที่ผู้บริโภคมีความต้องการสินค้ามากกว่า จำนวนสินค้าที่ผลิตได้ ก็จะเกิดการขาดแคลนสินค้าขึ้น ซึ่งจะส่งผลให้ราคาสินค้าแพงขึ้น ใน ทางตรงข้ามระดับราคาจะต่ำลงเมื่อปริมาณสินค้ามีมากกว่าความต้องการ กระบวนการ 1 ราชบัณฑิตยสถาน (2525). “พจนานุกรม. (ฉบับอิเล็กทรอนิกส์)”. บทที่ 2 ส ร ร พ ศ า ส ต ร์ ในทางโลก DOU 27
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More