หลุมดำและจิตวิญญาณ: เปรียบเทียบทฤษฎีทางดาราศาสตร์กับพระไตรปิฎก GB 406 สรรพศาสตร์ในพระไตรปิฏก หน้า 307
หน้าที่ 307 / 373

สรุปเนื้อหา

บทความนี้สำรวจแนวความคิดเรื่องหลุมดำและเวลาที่เคลื่อนที่ช้ากว่าบริเวณภายนอก เช่น โลกมนุษย์ โดยเฉพาะในมิติทางจิตวิญญาณที่มีความเร็วกว่าแสงและการเปรียบเทียบกับคำสอนในพระไตรปิฎก นอกจากนี้ยังกล่าวถึงความธรรมชาติของเวลาที่ช้าในมหานรกและความสามารถทางจิตของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าที่สามารถเคลื่อนที่ได้รวดเร็ว การศึกษาในด้านนี้จำเป็นต้องมีการค้นคว้าเพิ่มเติมเพื่อหาเปรียบเทียบข้อมูลให้ชัดเจนยิ่งขึ้น

หัวข้อประเด็น

- หลุมดำ
- เวลาและอวกาศ
- ความเร็วของจิต
- พระไตรปิฎก
- มหานรก

ข้อความต้นฉบับในหน้า

ขอบฟ้าเหตุการณ์ ของหลุมดำเพียง 1 เซนติเมตร จะเดินช้าถึง 60,000 ล้านเท่าของเวลาบริเวณที่ อยู่ห่างไกลออกไป เช่น เวลาบนโลกมนุษย์ เป็นต้น หลุมดำใจกลางกาแล็กซีคืออะไรกันแน่ ทำไมจึงมีมวลมากขนาดนั้น และทำไมเวลา ถ้าลองนำมาเปรียบเทียบกับคำสอนในพระไตรปิฎกแล้วทำให้ได้ข้อ ในหลุมดำจึงเดินช้าขนาดนั้น สังเกตที่น่าสนใจคือ บริเวณแกนกลางด้านล่างของกาแล็กซีทางช้างเผือกนั้น เป็นที่ตั้งของ อบายภูมิ ได้แก่ ภูมิของเปรต อสุรกาย และ มหานรก 8 ขุม โดยเฉพาะมหานรกเป็นภพภูมิที่มี แต่ความมืดมิด และที่สำคัญเวลาในมหานรกแต่ละขุมเดินช้ากว่าเวลาในโลกมนุษย์หลายล้าน เท่าดังตารางข้างต้น แต่สิ่งนี้ก็ยังเป็นเพียงข้อสังเกตที่ต้องศึกษาค้นคว้าเพิ่มเติมกันต่อไป หาก นักดาราศาสตร์สามารถระบุข้อมูลเกี่ยวกับหลุมดำได้ชัดกว่านี้ ก็จะสามารถนำข้อมูลมา เปรียบเทียบกันได้อย่างละเอียดและชัดเจนมากขึ้น 4) ความเร็วของแสงกับความเร็วของจิต จากที่กล่าวถึงทฤษฎีสัมพัทธภาพเฉพาะของไอน์สไตน์ที่ว่า ไม่มีสิ่งใดในโลกสามารถ เคลื่อนที่ด้วยความเร็วแสงหรือเร็วกว่าแสงได้ ความเชื่อนี้คงต้องเปลี่ยนแปลงไปหากนัก วิทยาศาสตร์ได้ศึกษาและทดลองพิสูจน์เรื่อง “จิต” ในพระไตรปิฎก เขาจะรู้ว่าจริง ๆ แล้วจิต เคลื่อนที่เร็วกว่าแสงมากๆ อย่างที่จะเทียบกันไม่ได้ พระสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสว่า “ดูก่อนภิกษุ ทั้งหลายเราย่อมไม่เล็งเห็นธรรมอื่นแม้อย่างหนึ่งที่เปลี่ยนแปลงได้เร็วเหมือนจิต จิตเปลี่ยนแปลง ได้เร็วเท่าใดนั้น แม้จะอุปมาก็กระทำได้มิใช่ง่าย” พระสัมมาสัมพุทธเจ้าและพุทธสาวกที่ทรงอภิญญานั้น ได้ฝึกจิตของตนจนชำนาญ สามารถแสดงปาฏิหาริย์ต่างๆ ด้วยอำนาจจิตได้ สามารถเดินทางไปไหนมาไหนอย่างรวดเร็ว ได้ด้วยอำนาจจิต มีบันทึกไว้มากมายในพระไตรปิฎกว่า พระสัมมาสัมพุทธเจ้าและพระอริย สาวกเหล่านี้สามารถ “หายตัว” จากที่หนึ่งไปปรากฏในที่อันไกลแสนไกลด้วยความเร็วดุจบุรุษ ที่มีกำลังพึงเหยียดแขนที่คู่หรือพึงคู่แขนที่เหยียดฉะนั้น พระผู้มีพระภาคได้ตรัสไว้ในพรหมนิมันตนิกสูตรว่า สมัยหนึ่ง เราอยู่ที่โคนต้นรังใหญ่ ในสุภควัน ใกล้เมืองอุกกัฏฐา สมัยนั้น พกพรหม มีความคิดว่า พรหมสถานนี้เที่ยง ยั่งยืน มั่นคง แข็งแรง มีความไม่เคลื่อนเป็นธรรมดา... ครั้งนั้น เรารู้ความคิดของพกพรหมด้วยใจแล้ว จึง หายจากโคนต้นรังใหญ่ ไปปรากฏในพรหมโลกนั้น เปรียบเหมือนบุรุษที่มีกำลังพึงเหยียดแขนที่ อังคุตตรนิกาย เอกนิบาต, มก. เล่ม 32 ข้อ 49 หน้า 95. 296 DOU สรรพ ศ า ส ต ร์ ในพระไตรปิฎก
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More