ระบบการเมืองและการปกครองในประเทศไทย GB 406 สรรพศาสตร์ในพระไตรปิฏก หน้า 29
หน้าที่ 29 / 373

สรุปเนื้อหา

บทความนี้นำเสนอข้อมูลเกี่ยวกับรัฐบาลซึ่งเป็นองค์กรปกครองสูงสุดในรัฐที่มีอำนาจในการบริหารประเทศ ประกอบด้วยฝ่ายนิติบัญญัติ ฝ่ายบริหาร และฝ่ายตุลาการ รวมถึงอำนาจอธิปไตยซึ่งเป็นอำนาจสูงสุดในการปกครองที่ใช้ภายในและภายนอก การแบ่งอำนาจออกเป็นอำนาจนิติบัญญัติ อำนาจบริหาร และอำนาจตุลาการนั้นเพื่อความสะดวกในการปฏิบัติหน้าที่ โดยอำนาจนิติบัญญัติบัญญัติโดยรัฐสภา อำนาจบริหารดำเนินการโดยคณะรัฐมนตรี และอำนาจตุลาการตัดสินตามกฎหมายผ่านระบบศาลต่าง ๆ นอกจากนี้ยังมีการกล่าวถึงการพัฒนาและการเปลี่ยนแปลงของระบอบการเมืองการปกครองในอดีตจนถึงปัจจุบัน ซึ่งแบ่งออกได้หลายรูปแบบตามแนวคิดของนักปรัชญาชื่อดัง

หัวข้อประเด็น

-รัฐบาล
-อำนาจอธิปไตย
-การปกครอง
-ระบบการเมือง
-ระบอบการเมืองการปกครอง

ข้อความต้นฉบับในหน้า

2.3) รัฐบาล เป็นองค์กรปกครองของรัฐที่มีอำนาจบริหารประเทศ ตามปกติรัฐบาล ประกอบด้วยฝ่ายนิติบัญญัติ ฝ่ายบริหาร และฝ่ายตุลาการ และจะมีหน่วยงานย่อยลงไปเรียก ว่าหน่วยงานทางการปกครอง รัฐบาลมี 2 ระดับ คือ ระดับนโยบาย ได้แก่ คณะรัฐมนตรี รัฐสภา ศาลและระดับปฏิบัติการ ได้แก่ กระทรวง ทบวง กรมและหน่วยงานปกครองย่อยลงไป 2.4) อำนาจอธิปไตยเป็นอำนาจสูงสุดในการปกครองประเทศ สำหรับใช้ในการดำเนิน งานของรัฐทั้งกิจการภายในและภายนอกโดยอิสระ เช่น อำนาจในการบังคับบัญชาประชาชน ของตนและพลเมืองของรัฐอื่นที่เข้ามาในดินแดนของตน การใช้อำนาจอธิปไตยนี้มักจะออกมา ในรูปของกระบวนการทางกฎหมาย ในรัฐๆ หนึ่งจะมีอำนาจอธิปไตยเพียง “หน่วยเดียว” การ แบ่งอำนาจอธิปไตยออกเป็น อำนาจนิติบัญญัติ อำนาจบริหาร และ อำนาจตุลาการเป็นการแบ่ง เพื่อความสะดวกว่า องค์กรใดจะเป็นผู้ใช้อำนาจอธิปไตยส่วนไหนเท่านั้น “อำนาจนิติบัญญัติ” นั้นเป็นอำนาจในการบัญญัติกฎหมาย โดยมี “รัฐสภา” อันประกอบ ด้วยสมาชิกสภาซึ่งได้รับเลือกตั้งจากประชาชนให้เข้ามาทำหน้าที่บัญญัติกฎหมาย “อำนาจ บริหาร” เป็นอำนาจในการบริหารประเทศตามกรอบของกฎหมายที่ฝ่ายนิติบัญญัติจัดทำขึ้น ผู้ใช้อำนาจนี้ ได้แก่ “คณะรัฐมนตรี” และ “ข้าราชการประจำ” ส่วน “อำนาจตุลาการ” นั้น เป็นอำนาจในการตัดสินคดีกรณีที่มีการทำผิดกฎหมายและมีการฟ้องร้องเกิดขึ้นซึ่งจะประกอบ ด้วยศาลต่าง ๆ เช่น ศาลรัฐธรรมนูญ, ศาลยุติธรรม, ศาลปกครอง และศาลทหาร 3.) ระบอบการเมืองการปกครอง หลังจากที่มนุษย์ได้สละสภาพการมีชีวิตอยู่ตามธรรมชาติแล้วเข้ามาอยู่รวมกันเป็น สังคมและได้จัดตั้งองค์การทางการเมืองขึ้น มนุษย์ทั้งหลายก็ได้ร่วมกันกำหนดกฎเกณฑ์และ วางแนวปฏิบัติเพื่อดำเนินกิจกรรมทางการเมืองการปกครอง ชุมชนทางการเมืองที่เป็นระบบนี้ เรียกว่า ระบอบการเมืองการปกครอง (Political System) การศึกษาระบอบการเมืองการปกครอง นั้นได้มีมาเป็นเวลานับพันปีแล้ว เมื่อเวลาได้ล่วงเลยมาถึงปัจจุบันระบอบการเมืองการปกครอง ก็ได้เปลี่ยนแปลงไปด้วย ดังจะได้กล่าวต่อไปนี้ 3.1) ระบอบการเมืองการปกครองในอดีต ระบอบการเมืองการปกครองในอดีตตามแนวคิดของเพลโตและอริสโตเติลแบ่งเป็น 3 แบบ คือ การปกครองโดยคนคนเดียว การปกครองโดยคณะบุคคลจำนวนน้อย และการปกครอง โดยคนส่วนใหญ่หรือคนทั้งหมด 18 DOU สรรพ ศ า ส ต ร์ ในพระไตรปิฎก
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More