ข้อความต้นฉบับในหน้า
ของเราไม่ได้เป็นหนึ่งเดียว แต่ยังมีเอกภพลักษณะอื่น ๆ อีกมากเป็น “พหูภพ (Mutiverse)”
เอกภพจึงเปรียบเสมือนเกาะเล็ก ๆ หลายเกาะที่กระจายกันอยู่ในมหาสมุทร
3.2 ทฤษฎีสำคัญสำหรับศึกษาเอกภพ
ปัจจุบันนักวิทยาศาสตร์ใช้ทฤษฎีพื้นฐาน 2 ทฤษฎีในการอธิบายเอกภพ คือ
3.2.1 ทฤษฎีสัมพัทธภาพ (Theory of Relativity)
3.2.2 ทฤษฎีควอนตัม (Quantum Theory)
โดยทฤษฎีสัมพันธภาพจะอธิบายโครงสร้างของเอกภพในระดับมหภาคหรือระดับใหญ่
จาก ขนาดความกว้างยาวไม่กี่ไมล์จนถึงขนาด 1 ล้านๆๆๆ ไมล์ ซึ่งเป็นขนาดของเอกภพที่เรา
สังเกตการณ์ได้ ส่วนทฤษฎีควอนตัม จะศึกษาระดับจุลภาคที่เล็กจิ๋วที่สุด ได้แก่ อะตอม และ
อนุภาคต่าง ๆ
สำหรับการศึกษาสิ่งมีชีวิตต่าง ๆ ในเอกภพนั้น ทฤษฎีที่สำคัญที่สุดซึ่งเป็นที่ยอมรับ
อย่างกว้างขวางในปัจจุบันคือทฤษฎีวิวัฒนาการ
3.2.3 ทฤษฎีวิวัฒนาการ (Theory of Evolution)
เป็นทฤษฎีที่อธิบายว่า สรรพชีวิตทั้งหลายมิได้เกิดจากบัญชาของพระเจ้า แต่เกิดจาก
สรรพชีวิตเหล่านั้นมีการปรับตัวพัฒนาจากสิ่งที่มีชีวิตเดิมที่มีอยู่เก่าก่อนแล้ว
3.2.1 ทฤษฎีสัมพัทธภาพ
ทฤษฎีสัมพัทธภาพที่จะกล่าวในที่นี้ จะมุ่งกล่าวถึงผลของทฤษฎีเป็นหลัก ไม่เน้น
อธิบายหลักการและความเป็นมาของตัวทฤษฎี เพราะเป็นเรื่องที่ซับซ้อน ซึ่งนักศึกษาไม่มี
ความจำเป็นต้องรู้รายละเอียดลึกถึงขนาดนั้น
คำว่า “สัมพัทธภาพ” มาจากภาษาอังกฤษว่า “Relativity” เป็นคำนาม ส่วนคำ
คุณศัพท์ของคำนี้คือ “Relative” แปลว่า สัมพัทธ์ คือ ที่เทียบเคียงกัน หรือ ที่เปรียบเทียบกัน
คำว่า Relativity ซึ่งเป็นคำนามจึงต้องแปลว่า สัมพัทธภาพ ความเปรียบเทียบกัน
หรือ การเปรียบเทียบกันนั่นเอง
ทฤษฎีสัมพัทธภาพ มีหลักการสำคัญ คือ ผลของการวัดหรือการสังเกตปรากฏการณ์
รอชิม ปรามาส (2547). “เอกภพ สรรพสิ่ง และมนุษยชาติ” หน้า 31-32
บทที่ 3 ค ว า ม
ามรู้พื้นฐานเรื่องเอกภพ DOU 45