ความแตกต่างที่กระตุ้นกิเลสและผลกระทบต่อมนุษยธรรม GB 406 สรรพศาสตร์ในพระไตรปิฏก หน้า 102
หน้าที่ 102 / 373

สรุปเนื้อหา

เนื้อหาอภิปรายเกี่ยวกับปัจจัยที่กระตุ้นให้มนุษย์ทำอกุศลธรรม เช่น ความแตกต่างระหว่างเพศและผิวพรรณที่ส่งผลต่อทัศนคติของคนในสังคม ความผิดพลาดทางการปกครองที่ส่งผลให้เกิดความไม่สงบและความยากจนซึ่งทำให้คนใช้วิธีที่ไม่ชอบธรรมในการดำรงชีวิต ส่งเสริมให้มีการประพฤติผิดในกามและการลักขโมย เพื่อรับมือกับความขัดสนนี้ แนวทางในการสร้างกุศลธรรมก็ยังมี เช่น การประพฤติปฏิบัติตามศีล 5 และกุศลกรรมบถ 10 ซึ่งเมื่อมีการปฏิบัติอย่างแพร่หลาย จะทำให้มนุษยชาติเจริญยิ่งขึ้น ทั้งนี้สามารถอ่านเพิ่มเติมที่ dmc.tv

หัวข้อประเด็น

- ความแตกต่างในสังคม
- ผลกระทบจากความผิดพลาดทางการปกครอง
- ความยากจนและผลกระทบ
- กุศลธรรมและการพัฒนาสังคม
- การประพฤติธรรมในพระไตรปิฎก

ข้อความต้นฉบับในหน้า

4.3) ความแตกต่างเป็นตัวกระตุ้นกิเลสจึงเป็นเหตุให้มนุษย์ทำอกุศลธรรม จากเนื้อเรื่องจะเห็นว่า เมื่อสัตว์เริ่มมีผิวพรรณต่างกัน คนมีผิวพรรณงามก็จะดูหมิ่น คนมีผิวพรรณไม่งามบ้าง หรือเมื่อเพศชายและเพศหญิง เกิดขึ้นก็มีการเพ่งดูกัน จึงเป็นเหตุให้ เสพเมถุนธรรมกันบ้าง และเป็นเหตุให้มีการประพฤติผิดในกาม คือ ล่วงละเมิดลูกเมียของ ผู้อื่นบ้าง 4.4) ความผิดพลาดทางการปกครองเป็นเหตุให้มนุษย์ทำอกุศลธรรม จากจักกวัตติสูตรจะเห็นว่าในยุคของพระเจ้าจักรพรรดิพระองค์ที่ 1-7 ทรงยึดมั่นใน ธรรม คือ จักรวรรดิวัตร เป็นเหตุให้บ้านเมืองสงบสุขและเจริญรุ่งเรือง แต่เมื่อถึงยุคของพระโอรส ของพระเจ้าจักรพรรดิพระองค์ที่ 7 ช่วงแรกพระองค์ไม่ได้ประพฤติตามจักรวรรดิวัตร ปกครอง ประชาราษฎร์ตามมติของพระองค์เอง จึงทำให้บ้านเมืองไม่เจริญ ข้าราชการจึงถวายคำแนะนำ ให้พระองค์ประพฤติจักรวรรดิวัตร พระองค์ก็ทรงปฏิบัติตาม แต่ว่าไม่ได้แก้ปัญหาเรื่อง เศรษฐกิจโดยพระราชทานทรัพย์ให้แก่คนไม่มีทรัพย์ให้เขามีทุนในการประกอบอาชีพ เป็นเหตุ ให้ความขัดสนแพร่หลาย เมื่อคนขัดสนไม่มีกินจึงผลักดันให้เขาจำเป็นต้องทำอกุศลธรรมด้วย การลักขโมย 4.5) ความยากจนผลักดันให้มนุษย์ทำอกุศลธรรม นอกจากกิเลสในตัวซึ่งเป็นเหตุสำคัญที่กระตุ้นให้มนุษย์ทำอกุศลธรรมแล้ว จะเห็นว่า ความยากจนหรือความขัดสนทรัพย์นั้นก็เป็นอีกสาเหตุหนึ่งด้วย เพราะเมื่อยากจนไม่มีอะไรจะ เลี้ยงชีพ ก็ต้องดิ้นรนแสวงหาปัจจัย 4 มาหล่อเลี้ยงร่างกายให้ดำรงอยู่ได้ เมื่อไม่ได้มาโดยชอบ ธรรมก็ต้องหามาโดยไม่ชอบธรรม คือ การลักขโมย เป็นต้น สำหรับกุศลธรรมที่มนุษย์ประพฤติแล้วเป็นเหตุให้โลกและมวลมนุษยชาติเจริญนั้นมี หลายประการ เช่น ศีล 5, กุศลกรรมบถ 10, จักรวรรดิวัตร เป็นต้น เมื่อมนุษย์ยึดมั่นในกุศล ธรรมเหล่านี้ ก็จะเป็นต้นแบบที่ดีให้คนอื่นทำตาม และเมื่อมีการชักชวนกันปฏิบัติอย่างแพร่หลาย ก็จะเป็นเหตุให้อายุขัย วรรณะ ของมนุษย์เจริญขึ้น เป็นเหตุให้สิ่งแวดล้อมดีขึ้น อาหารประณีต ขึ้น ทำให้โลกเจริญขึ้นตามลำดับ บทที่ 5 ม นุ ษ ย ศ า ส ต ร์ ในพระไตรปิฎก DOU 91
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More