การปกครองและเศรษฐกิจในพระพุทธศาสนา GB 406 สรรพศาสตร์ในพระไตรปิฏก หน้า 148
หน้าที่ 148 / 373

สรุปเนื้อหา

ชาดกเรื่องนี้ชี้ให้เห็นว่าเกียรติยศของผู้ปกครองที่ปราศจากอคติจะส่งผลต่อความสงบสุขของประชาชน และเรื่องกุศลกรรมบถ 10 ใช้เป็นหลักในการปกครอง ตั้งแต่สมัยพุทธกาล ศีล 5 มีบทบาทสำคัญในการสร้างสังคมที่มีธรรมเป็นพื้นฐาน นอกจากนี้ ความสำคัญของเศรษฐกิจในฐานะที่เป็นแรงกระตุ้นสำคัญในการดำเนินชีวิตของประชาชน เมื่อฐานะเศรษฐกิจยากจนจะส่งผลต่อการรักษาศีลธรรม ซึ่งมีความสำคัญไม่แพ้กัน นำไปสู่การพัฒนาเศรษฐกิจควบคู่กับความมุ่งมั่นทางธรรมในสังคม ผ่านการสอนจากพระสัมมาสัมพุทธเจ้าในหลากหลายแง่มุม. สามารถศึกษาเพิ่มเติมได้ที่ dmc.tv

หัวข้อประเด็น

-เกียรติยศของผู้ปกครอง
-กุศลกรรมบถ 10
-ศีล 5
-เศรษฐศาสตร์การเมือง
-การปกครองที่ปราศจากอคติ

ข้อความต้นฉบับในหน้า

จากชาดกเรื่องนี้ชี้ให้เห็นว่า เกียรติยศของผู้ปกครองที่ไม่มีอคตินั้น จะรุ่งเรื่องยิ่ง ๆ ขึ้น ไป และสามารถปกครองประชาชนให้อยู่ร่วมกันได้อย่างเป็นสุข 3. กุศลกรรมบถ 10 กุศลกรรมบถ 10 นอกจากจะใช้เป็นหลักในการปกครองตนของพระราชาและ พระเจ้าจักรพรรดิแล้ว ยังใช้เป็นหลักในการปกครองคนด้วย กล่าวคือ เป็นกฎระเบียบให้ ประชาชนในยุคนั้น ๆ ปฏิบัติตาม เช่น ในสมัยของพระเจ้ามหาวิชิตราช ซึ่งพระสัมมาสัมพุทธ เจ้าตรัสไว้ในกฎทันตสูตร และในราชสูตรก็มีบันทึกไว้ว่า พระเจ้าจักรพรรดิบางพระองค์ก็ใช้ กุศลกรรมบถ 10 เป็นหลักในการปกครองคนเช่นกัน 4. ศีล 5 ศีล แปลว่า ปกติ หมายถึง ความเป็นปกติของมนุษย์ 5 ประการ เช่น ปกติมนุษย์จะ ไม่ฆ่าสัตว์ เป็นต้น ศีล 5 ก็เป็นธรรมที่มีมาก่อนยุคพุทธกาลเช่นกัน โดยเฉพาะในยุคที่มี พระเจ้าจักรพรรดิมาบังเกิดขึ้น พระองค์จะใช้ศีล 5 เป็นธรรมสำหรับให้ประชาชนประพฤติปฏิบัติ เช่น ในจักกวัตติสูตรที่ กล่าวไว้แล้วในบทที่ 5 เป็นต้น 6.7 ความสําคัญของเศรษฐกิจต่อการปกครอง นอกเหนือจาก “ธรรม” ซึ่งเป็นหัวใจของการปกครองแล้ว สิ่งสำคัญอีกประการหนึ่งคือ “เรื่องเศรษฐกิจ” หรือเรื่องปากท้องของประชาชน จนในปัจจุบันได้เกิดการผสมผสานศาสตร์ 2 ศาสตร์เข้าด้วยกัน คือรัฐศาสตร์กับเศรษฐศาสตร์เรียกว่า “เศรษฐศาสตร์การเมือง” ปัญหาสังคมที่เกิดขึ้น นอกจากจะมาจากกิเลสอันเป็นสาเหตุสำคัญ ตามที่กล่าวไว้ใน อัคคัญญสูตรแล้ว ยังมาจากเรื่องเศรษฐกิจด้วย เพราะเมื่อคนมีฐานะยากจนไม่มีอะไรจะกิน ก็ ต้องดิ้นรนแสวงหาทรัพย์หาอาหารเพื่อยังชีพ เมื่อหาไม่ได้โดยชอบก็ต้องลักขโมยเขากิน หาก ไม่ขโมยก็อาจจะหากินโดยวิธีอื่น เช่น การฆ่าสัตว์ตัดชีวิต ด้วยเหตุนี้ ศีลธรรมจึงไม่อาจตั้งอยู่ได้ เพราะท้องมันหิวจำเป็นต้องระงับความหิวก่อน ยังไม่มีเรี่ยวแรงที่จะคิดถึงเรื่องการกำจัดกิเลส เพื่อไปสู่อายตนนิพพาน แม้ว่าเรื่อง “ศีลธรรม” จะสำคัญกว่าเศรษฐกิจ ดังที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสว่า “พึง สละทั้งทรัพย์ อวัยวะ และชีวิตเพื่อรักษาธรรม” แต่คนที่ทำได้อย่างนี้มีไม่มาก ด้วยเหตุนี้ ผู้ปกครองจึงต้องดูแลเรื่องปากท้องของประชาชนให้ดี ศีลธรรมจึงจะตั้งอยู่ได้อย่างมั่นคง พระ สัมมาสัมพุทธเจ้าเอง ทรงให้ความสำคัญในเรื่องนี้มาก พระองค์จะตรัสถามพระภิกษุที่ไปจำ บทที่ 6 รัฐศาสตร์ในพระไตรปิฎก DOU 137
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More