การบรรลุวัตถุประสงค์ในการบวชและความสำคัญของสิกขาบท GB 406 สรรพศาสตร์ในพระไตรปิฏก หน้า 178
หน้าที่ 178 / 373

สรุปเนื้อหา

บทความนี้กล่าวถึงการบวชและความสำคัญของสิกขาบทที่มีบทบาทต่อการรักษาศาสนาให้อยู่ในทางที่ถูกต้องและยั่งยืน โดยเฉพาะการเปรียบเทียบศาสนาของพระผู้มีพระภาคเจ้าทั้งสี่พระองค์ที่ทำให้ศาสนาอยู่ได้นานหรือหายไป เรื่องราวยังเน้นความสำคัญของการแสดงธรรมและการบัญญัติสิกขาบท เพื่อให้สาวกสามารถเรียนรู้และปฏิบัติอย่างถูกต้อง ซึ่งส่งผลต่อการดำรงอยู่ของพระศาสนาในอนาคต。เนื้อหานี้อ้างถึงพระวินัยปิฎกและการเลือกเรียนรู้จากพระคำสอนอย่างพิสดาร

หัวข้อประเด็น

-การบวช
-สิกขาบท
-พระศาสนา
-ปาฏิโมกข์
-การแสดงธรรม

ข้อความต้นฉบับในหน้า

ได้ชื่อว่าเป็นนักบวช และจะบรรลุวัตถุประสงค์ของการบวชได้ 7.3.1 สิกขาบทเป็นเหตุให้พระศาสนาตั้งอยู่ได้นาน วันหนึ่งพระสารีบุตรได้มีความคิดสงสัยเกิดขึ้นว่า ศาสนาของพระผู้มีพระภาคเจ้า พระองค์ใดไม่ดำรงอยู่นาน ของพระองค์ใดดำรงอยู่นาน ท่านจึงเข้าไปกราบทูลถามพระผู้มี- พระภาคเจ้า ตรัสตอบว่า ดูก่อนสารีบุตร ศาสนาของพระผู้มีพระภาคเจ้าพระนามวิปัสสี พระนาม สิขี และพระนามเวสสภู ไม่ดำรงอยู่นาน ศาสนาของพระผู้มีพระภาคเจ้าพระนามกกุสันธะ พระ นามโกนาคมนะ และพระนามกัสสปะดำรงอยู่นาน ซึ่งสาเหตุที่ทำให้ศาสนาดำรงอยู่ไม่นานมี 3 ประการดังนี (1) พระผู้มีพระภาคเจ้าพระนามวิปัสสี พระนามสิขีและพระนามเวสสภู ไม่ทรงแสดง ธรรมโดยพิสดารคือกว้างขวางละเอียดลออแก่สาวกทั้งหลายจึงทำให้พระธรรมคำสอนของพระผู้ มีพระภาคเจ้าทั้งสามพระองค์นั้นมีน้อย (2) สิกขาบทก็มิได้ทรงบัญญัติ สิกขาบทในที่นี้คือสิกขาบท 227 ข้อของพระภิกษุ (3) ปาฏิโมกข์ก็มิได้ทรงแสดงแก่สาวก ปาฏิโมกข์ในที่นี้คือสิกขาบทข้อต่าง ๆ ส่วนการ แสดงปาฏิโมกข์คือ การยกสิกขาบททุกข้อที่บัญญัติไว้แสดงในที่ประชุมสงฆ์ทุกกึ่งเดือน เพื่อให้ พระภิกษุได้ทบทวนศีลของตน แต่เมื่อไม่มีการบัญญัติสิกขาบทจึงไม่มีการแสดงปาฏิโมกข์ไป โดยปริยายด้วย เมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้าเหล่านั้นและสาวกยุคแรกผู้ตรัสรู้ตามปรินิพพานไปแล้ว สาวก ยุคหลังที่ต่างชื่อกัน ต่างโคตรกัน ต่างชาติกัน ออกบวชจากตระกูลต่างกัน จึงยังพระศาสนานั้น ให้อันตรธานโดยฉับพลัน เปรียบเสมือนดอกไม้ต่างพรรณที่เขากองไว้บนพื้นกระดาน ยังไม่ได้ ร้อยด้วยด้าย ลมย่อมพัดให้ดอกไม้เหล่านั้นกระจัดกระจายได้ ฉันนั้น สำหรับสาเหตุที่ทำให้ ศาสนาดำรงอยู่นานนั้นมี 3 ประการเช่นกันดังนี้ (1) พระผู้มีพระภาคเจ้าพระนามกกุสันธะ พระนามโกนาคมนะ และพระนามกัสสปะ ทรงแสดงธรรมโดยพิสดาร คือ กว้างขวางละเอียดลออแก่สาวกทั้งหลาย จึงทำให้พระธรรม คำสอนของพระผู้มีพระภาคเจ้าทั้งสามพระองค์นั้นมีมาก (2) สิกขาบทก็ทรงบัญญัติ (3) ปาฏิโมกข์ก็ทรงแสดงแก่สาวก "พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ทุติยภาค, มก. เล่ม 4 ข้อ 689 หน้า 757. บทที่ 7 นิ ติ ศ า ส ต ร์ ในพระไตรปิฎก DOU 167
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More