ข้อความต้นฉบับในหน้า
(4) อดทนต่อการรอคอยเพื่อความรู้ที่ถูกต้อง อดทนต่อการถูกคัดค้าน อดทนต่อ
ความผิดพลาดและพร้อมที่จะแสวงหาแนวทางใหม่เพื่อให้ได้ความรู้ที่ถูกต้อง
(5) ใฝ่หาเหตุผลตามธรรมชาติของสิ่งต่างๆ ไม่เชื่อในไสยศาสตร์และเวทมนตร์ต่างๆ
เชื่อว่าปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นไม่ว่าจะลึกลับเพียงใดก็สามารถอธิบายด้วยเหตุและผลเสมอ
(6) เชื่อว่าสัจธรรมไม่มีการเปลี่ยนแปลงแต่ความคิดเห็นว่าอะไรจริงหรือไม่จริง
เปลี่ยนแปลงได้เสมอ
(7) มีความกระตือรือร้น สนใจและจริงจังต่อสิ่งที่ตนกำลังสังเกต เช่น จะถามปัญหา
อะไร ทำไม อย่างไร ในปรากฏการณ์ที่กำลังสังเกตเสมอ และไม่พอใจในคำตอบใด ๆ ที่คลุมเครือ
2.2.7 แพทยศาสตร์
1.) ความหมายของแพทยศาสตร์
แพทยศาสตร์ หมายถึง วิชาการป้องกันและบำบัดโรค ซึ่งเป็นสาขาหนึ่งของ
วิทยาศาสตร์สุขภาพ ที่เกี่ยวข้องกับการดูแลสุขภาพและเยียวยารักษาโรค แพทยศาสตร์มี
ศาสตร์เฉพาะทางมากมาย เช่น อายุรกรรม, ศัลยกรรม, สูติกรรม ฯลฯ ในแต่ละสาขายังแบ่ง
เป็นสาขาย่อยลงไปอีก
แพทยศาสตร์ที่กล่าวมาข้างต้นนี้เป็นที่รู้จักทั่วไปว่าเป็น “การแพทย์แผนปัจจุบัน” หรือ
การแพทย์แผนตะวันตก ซึ่งมีการจัดหลักสูตรการเรียนการสอนในมหาวิทยาลัยอย่างเป็นระบบ
นอกจากนี้ยังมีการแพทย์อีกแผนหนึ่งซึ่งคงอยู่คู่โลกมานานเป็นที่รู้จักกันในนาม “การแพทย์
ทางเลือก” อันได้แก่ การแพทย์แผนจีน แผนอินเดีย และการแพทย์แผนไทย เป็นต้น
2.) การแพทย์แผนปัจจุบัน
ตามทัศนะของเลอเดอร์มาน มุมมองหรือกระบวนทัศน์ของนักวิทยาศาสตร์การ
แพทย์แผนปัจจุบัน แบ่งเป็น 2 ทัศนะ คือ วัตถุนิยมเชิงจักรกล และ ทัศนะว่าด้วยองค์รวม
1 ราชบัณฑิตยสถาน. (2525). “พจนานุกรม.” หน้า 607.
2 วิทยาศาสตร์สุขภาพ คือ สาขาวิชาวิทยาศาสตร์ประยุกต์ที่ศึกษาเกี่ยวกับสุขภาพของมนุษย์และสัตว์ แบ่ง
เป็น 2 ส่วน ส่วนแรกคือ การศึกษาวิจัย และความรู้ที่เกี่ยวกับสุขภาพ ส่วนที่สอง คือ การนำความรู้ดังกล่าวมาประยุกต์
ใช้เพื่อพัฒนาสุขภาพ, รักษาโรค และทำความเข้าใจการทำงานของร่างกายมนุษย์และสัตว์
บทที่ 2 ส ร ร พ ศ า ส ต ร์ ใ น ท า ง โ ล ก DOU 37