ข้อความต้นฉบับในหน้า
1) ดุลยภาพบำบัดในสมัยพุทธกาลกับยุคปัจจุบัน
จากที่กล่าวถึงสาเหตุของโรคประการที่ 6 ว่า โรคเกิดแต่การผลัดเปลี่ยนอิริยาบถไม่
สม่ำเสมอ เช่น นั่งนานเกินไป เป็นต้น พระผู้มีพระภาคเจ้าและพระภิกษุในสมัยพุทธกาลจึง
ป้องกันโรคด้วยการเปลี่ยนอิริยาบถให้สม่ำเสมอ และกิจวัตรของพระภิกษุมีหลากหลาย จึง
ทำให้การผลัดเปลี่ยนอิริยาบถเป็นไปอย่างสมดุล คือ มีทั้งนั่งสมาธิ บิณฑบาต เดินจงกรม กวาดวัด
สำเร็จสีหไสยาสน์ บริหารร่างกายด้วยการ “ดัดกาย” ผ่อนคลายกล้ามเนื้อด้วยการ “บีบนวด”
การบิณฑบาต เดินจงกรม และกวาดวัดนั้นถือได้ว่าเป็นการออกกำลังกายแบบบรรพชิต
หากกล่าวในภาษาปัจจุบันก็กล่าวได้ว่าการผลัดเปลี่ยนอิริยาบถให้สม่ำเสมอและ
กิจวัตรอันหลากหลายนั้นเป็นไปเพื่อสร้าง “ดุลยภาพแห่งอิริยาบถ” หรือ อาจเรียกว่า
“ดุลยภาพบำบัด” นั่งเอง เพราะดุลยภาพบำบัด หมายถึง “วิธีการป้องกันบำบัดรักษาโรคและ
บำรุงสุขภาพด้วยการปรับความสมดุลโครงสร้างของร่างกาย” ซึ่งมีวิธีการปฏิบัติ 4 วิธี คือ
การระวังรักษาอิริยาบถต่าง ๆ ให้สมดุลตลอดเวลา การบริหารจัดโครงสร้างร่างกายให้สมดุล
การออกกำลังกายเพื่อเสริมประสิทธิภาพในการรักษาสมดุล และ การผ่อนคลายกล้ามเนื้อและ
เส้นเอ็นด้วยการนวด
2) เปรียบเทียบยาในสมัยพุทธกาลกับยุคปัจจุบัน
ยารักษาโรคที่ปรากฏอยู่ในพระไตรปิฎกนั้น ปัจจุบันถูกนำมาใช้ในวงการแพทย์หลาย
วงการทั้งการแพทย์ทางเลือกและการแพทย์แผนปัจจุบัน โดยเฉพาะยาสมุนไพรนั้นจะเห็นว่า
เป็นยาที่การแพทย์แผนไทยนำมาใช้เป็นยาหลักในการรักษาโรค รายชื่อสมุนไพรต่างๆ ที่
ปรากฏอยู่ในพระไตรปิฎก เมื่อนำมาเทียบกับยาสมุนไพรในตำราแพทย์แผนไทยแล้วพบว่า
เหมือนกันมาก และที่สำคัญตามหลักการที่สรุปได้จากพระไตรปิฎกที่ว่า สรรพสิ่งในธรรมชาติ
นำมาทำยาได้หมดถ้าเรารู้คุณสมบัติส่วนที่เป็นยาของสิ่งนั้นๆ จึงสรุปได้ว่า ยาสมุนไพรทุกชนิด
รวมทั้งยาที่การแพทย์แผนปัจจุบันสกัดออกมาจากธรรมชาติ ทั้งหมดเป็นยาที่อยู่ในหลักการนี้
ทั้งสิ้น
และจากที่กล่าวแล้วว่า “น้ำมูตรเน่า” เป็นยาหลักของพระภิกษุในสมัยพุทธกาลในเรื่องนี้
นายแพทย์บรรจบ ชุณหสวัสดิกุล เจ้าของสถานพยาบาลธรรมชาติบำบัด กล่าวว่า น้ำปัสสาวะ
รักษาโรคได้หลายโรค เช่น โรคปวดหลัง ปวดข้อ ไมเกรน ปวดเมื่อย ภูมิแพ้ ผื่นคัน สะเก็ดเงิน
มะเร็ง ลำไส้ใหญ่อักเสบเรื้อรัง ฯลฯ การดื่มน้ำปัสสาวะบำบัดโรคนั้นให้ดื่มน้ำปัสสาวะของ
กองวิชาการ อาศรมบัณฑิต (2549). “สุขภาพนักสร้างบารมี” หน้า 146-147, 223-224.
บ ท ที่ 1 1 แ พ ท ย ศ า ส ต ร์ ในพระไตรปิฎก
DOU 345