ข้อความต้นฉบับในหน้า
การที่ใครสักคนหนึ่งจะบำเพ็ญบุญทั้งทาน ศีล ภาวนานั้นเขาจะต้องมีศรัทธาก่อน หาก
ไม่มีศรัทธาก็ไม่มีแรงจูงใจที่เขาจะสร้างบุญใดๆ ดังนั้นบุญกิริยาวัตถุ 3 จึงเริ่มต้นด้วย “ศรัทธา”
เหมือนกันเพียงแต่ไม่ได้กล่าวถึงเท่านั้นเอง ส่วน “ศีล” ในอริยทรัพย์ก็มีตรงกับ “ศีล” ใน
บุญกิริยาวัตถุ สำหรับ “จาคะ” ในอริยทรัพย์หรือที่เราคุ้นกับคำว่า “บริจาค” ซึ่งก็คือ “ทาน”
ในบุญกิริยาวัตถุนั่นเอง ส่วน “ปัญญา” นั้นนักศึกษาบางท่านอาจจะสงสัยว่าเชื่อมโยงกับภาวนาได้
อย่างไร ก่อนอื่นขอทบทวนความหมายของคำว่าปัญญาก่อนว่า ปัญญาในที่นี้มุ่งถึง ปัญญาใน
การชำแรกกิเลสให้ถึงความสิ้นทุกข์ ซึ่งจะเกิดขึ้นได้ด้วยการ “เจริญสมาธิภาวนา” เท่านั้น
8.2.4 ความสำคัญของทรัพย์
เนื่องจากทรัพย์มี 2 ประเภท คือ โภคทรัพย์ และ อริยทรัพย์ ซึ่งความสำคัญของทรัพย์
ทั้ง 2 ประเภทนี้มีความแตกต่างกัน จึงอธิบายแยกออกเป็น 2 ประเด็นดังนี้
1.) ความสำคัญของโภคทรัพย์
ชาวโลกโดยทั่วไปเข้าใจกันดีว่า โภคทรัพย์นั้นมีความสำคัญอย่างไร แต่คนที่มีทรัพย์
มากอาจจะไม่ค่อยเห็นความสำคัญของทรัพย์เท่าที่ควร จึงมักใช้จ่ายอย่างฟุ่มเฟือย กินทิ้งกิน
ขว้าง ส่วนคนจน คนที่ไม่ค่อยมีทรัพย์ คนที่อดๆ อยากๆ จะซาบซึ้งถึงความสำคัญของทรัพย์
มากเป็นพิเศษ จากข้อมูลของสหประชาชาติพบว่า มีประชากรโลกประมาณ 850 ล้านคนที่ได้
รับสารอาหารไม่เพียงพอ เด็กอายุต่ำกว่า 5 ขวบเสียชีวิตปีละประมาณ 10 ล้านคน ในจำนวนนี้
ประมาณ 5 ล้านคนเสียชีวิตเพราะขาดสารอาหาร” นี้คือผลพวงของการไม่มีทรัพย์ นอกจากนี้
พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ในอิณสูตรว่า การเป็นคนจนนั้นเป็นทุกข์ เพราะเมื่อยากจนก็ต้อง
กู้ยืมเงินของคนอื่น การกู้ยืมนี้ก็เป็นทุกข์...
และที่สำคัญความจนยังเป็นแรงกดดันให้ทำอกุศลธรรมต่าง ๆ อีกด้วย กล่าวคือ เมื่อ
ไม่มีจะกินก็ต้องดิ้นรนหาทรัพย์ หาอาหารมาเพื่อยังชีพ จึงเป็นไปได้ที่จะมีโอกาสทำผิดศีลผิด
ธรรม เพื่อรักษาชีวิตให้อยู่รอดไปก่อน
คนที่มีฐานะยากจนโอกาสที่จะสร้างบุญสร้างบารมีก็อาจทำได้ไม่เต็มที่ เมื่อท้องยังหิว
อยู่ จึงไม่ค่อยคิดถึงการให้ทาน รักษาศีล และนั่งสมาธิ เพราะแม้แต่ข้าวสารกรอกหม้อวันนี้ยัง
ไม่มีเลย ส่วนคนรวยนั้นมีทรัพย์มาก หากมีศรัทธาก็มีโอกาสมากกว่าที่จะให้ทานก็ทำได้เต็มที่
รักษาศีลก็สะดวก นั่งสมาธิก็สบาย ไม่ต้องกังวลเรื่องปัจจัย 4 อันเป็นสิ่งพื้นฐานแห่งการยังชีพ
www.the-thainews.com(2549), “วันอาหารโลก 2549. [ออนไลน์]
อิณสูตร, อังคุตตรนิกาย ฉักกนิบาต, มก. เล่ม 36 ข้อ 316 หน้า 664.
204 DOU
สรรพ ศ า ส ต ร์ ในพระไตรปิฎก