ข้อความต้นฉบับในหน้า
อปริหานิยธรรม ทศพิธราชธรรม และจักรวรรดิวัตร ฯลฯ ก็สามารถประยุกต์ใช้ในการปกครองได้
ทุกระบอบ
นอกจากพระสัมมาสัมพุทธเจ้าจะสอนหลักธรรมสำหรับการปกครองแล้ว พระองค์ยัง
ทรงสอนให้กษัตริย์และผู้ปกครองแคว้นต่างๆ บรรลุธรรมด้วย เช่น พระองค์เสด็จไปโปรด
พระเจ้าพิมพิสารแห่งแคว้นมคธ ในครั้งนั้นพระเจ้าพิมพิสารและประชาชน 110,000 คน ได้
บรรลุธรรมเป็นพระโสดาบัน เมื่อพระราชาเป็นพระโสดาบันแล้ว จึงทำให้มีศรัทธามั่นคงใน
พระรัตนตรัย มีใจตั้งมั่นในธรรม เป็นเหตุให้ปกครองประชาราษฎร์โดยธรรมไปโดยปริยาย
สำหรับการปกครองของคณะสงฆ์ในพระพุทธศาสนานั้น เป็นสิ่งที่เกิดขึ้นใหม่ ไม่เคย
มีมาก่อน แต่ถึงกระนั้น ในสมัยพุทธกาลระบอบที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงใช้ปกครองพุทธ
บริษัทก็คล้ายๆ กับทางโลก โดยฐานะทางการปกครองของพระพุทธองค์ คือ “ธรรมราชา” คล้ายๆ
กับการเป็นกษัตริย์ผู้ทรงธรรมในทางโลก
ก่อนพระองค์จะปรินิพพานก็ไม่ได้แต่งตั้งภิกษุรูปใดเป็นศาสดาแทน แต่ทรงใช้หลัก
การธรรมาธิปไตยในการปกครองคณะสงฆ์ โดยมอบอำนาจให้คณะสงฆ์ในแต่ละพื้นที่ แต่ละ
วัดทุกรูปปกครองบริหารการคณะสงฆ์ในพื้นที่นั้น ๆ ร่วมกัน โดยยึด “พระธรรมวินัย” ที่
พระองค์ตรัสไว้ดีแล้วเป็นศาสดาแทนพระองค์ และที่สำคัญพระองค์ได้ตรัสถึงหลัก “อปริหานิย
ธรรม” ให้พระภิกษุและภิกษุณีปฏิบัติอย่างเคร่งครัด ซึ่งหลักนี้พระองค์เคยสอนให้เจ้าลิจฉวีใช้
ปกครองแคว้นวัชชีมาก่อน แต่มีความแตกต่างกันบางข้อ ทั้งนี้เพื่อให้เหมาะสมกับเพศภาวะ
ของบรรพชิต
การปกครองคณะสงฆ์ในพระพุทธศาสนานั้นแตกต่างกับทางโลกตรงที่พระพุทธองค์
ทรงกำหนดกฎระเบียบสำหรับพระภิกษุและภิกษุณีอย่างเคร่งครัด ดังที่ปรากฏในพระวินัยปิฎก
ซึ่งจะกล่าวรายละเอียดในบทนิติศาสตร์ในพระไตรปิฎกต่อไป ส่วนทางโลกพระองค์เพียงตรัส
สอนหลักธรรมให้บรรดากษัตริย์และผู้ปกครองแคว้นต่างๆ นำไปประยุกต์ใช้กันเอง พระองค์
ไม่ได้เข้าไปเกี่ยวข้องกับกฎระเบียบ และกระบวนการปกครองภายในรัฐแต่อย่างใด ทั้งนี้อาจ
เป็นเพราะสิ่งเหล่านี้มีมาแต่เดิมแล้ว เพียงแต่บางรัฐบางแคว้นหรือโดยส่วนใหญ่ยังขาด “หลัก
ธรรม” ซึ่งเป็นหัวใจสำคัญสำหรับเป็นเครื่องนำทางการปกครองเท่านั้น
ส่วนคณะสงฆ์ในพระพุทธศาสนานั้นเกิดขึ้นใหม่ พระสัมมาสัมพุทธเจ้าจึงต้องวาง
ระบบระเบียบต่างๆ ให้ชัดเจน จะอาศัยเพียงหลักธรรม เช่น อปริหานิยธรรม เป็นต้น ซึ่งเป็น
หลักการกว้าง ๆ นั้นไม่พอ เพราะผู้เข้ามาบวชมีอุปนิสัยและการอบรมหล่อหลอมต่างกัน หาก
บทที่ 6 รัฐ ศ า ส ต ร์ ในพระไตรปิฎก DOU 127