แนวคิดเกี่ยวกับสรรพศาสตร์ GB 406 สรรพศาสตร์ในพระไตรปิฏก หน้า 20
หน้าที่ 20 / 373

สรุปเนื้อหา

แนวคิดสรรพศาสตร์หมายถึงศาสตร์ทั้งหลายที่มีอยู่ในโลก แบ่งออกเป็น 3 หมวดใหญ่: มนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ และวิทยาศาสตร์ มนุษยศาสตร์เน้นเรื่องจิตใจและความรู้สึกของมนุษย์ ขณะที่สังคมศาสตร์มุ่งเน้นความสัมพันธ์ทางสังคม และวิทยาศาสตร์ว่าด้วยสิ่งแวดล้อมทางกายภาพ เรียนรู้หลักการของศาสตร์ 7 สาขา รวมถึงการเปรียบเทียบกับองค์ความรู้ในพระไตรปิฎกเพื่อความเข้าใจที่ลึกซึ้งยิ่งขึ้น.

หัวข้อประเด็น

-สรรพศาสตร์
-มนุษยศาสตร์
-สังคมศาสตร์
-วิทยาศาสตร์
-หลักการศึกษา
-การเปรียบเทียบ

ข้อความต้นฉบับในหน้า

แนวคิด 1. สรรพศาสตร์ หมายถึง ศาสตร์ทั้งปวงที่มีอยู่ในโลก ซึ่งแบ่งเป็น 3 หมวดวิชาใหญ่ๆ คือ มนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ และ วิทยาศาสตร์ 2. มนุษยศาสตร์ กล่าวถึง ตัวมนุษย์โดยเน้นโลกภายในของมนุษย์ ได้แก่ เรื่องจิตใจ ความรู้สึกนึกคิด คุณค่าของความเป็นมนุษย์ เป็นต้น ซึ่งมีสาขาวิชาย่อยดังนี้ เช่น วิชาศาสนา วิชาปรัชญา วิชาภาษาศาสตร์ อารยธรรม และ วิชาประวัติศาสตร์ เป็นต้น 3. สังคมศาสตร์ กล่าวถึง มนุษย์กับความสัมพันธ์ของมนุษย์ด้วยกัน เป็นเรื่องโลก ภายนอกของมนุษย์ทางด้านสังคม ซึ่งมีสาขาวิชาย่อยดังนี้ เช่น รัฐศาสตร์ นิติศาสตร์ เศรษฐศาสตร์ วาทศาสตร์ การจัดการ และ สังคมวิทยา เป็นต้น 4. วิทยาศาสตร์ เป็นหมวดวิชาที่ว่าด้วยเรื่องมนุษย์และสิ่งแวดล้อมทางกายภาพซึ่ง เป็นโลกภายนอกของมนุษย์เช่นกัน มีสาขาวิชาย่อยดังนี้ เช่น เคมี ฟิสิกส์ ชีววิทยา แพทยศาสตร์ ดาราศาสตร์ และ เกษตรศาสตร์ เป็นต้น วัตถุประสงค์ เพื่อให้นักศึกษาทราบภาพรวมของสรรพศาสตร์ในทางโลก และทราบหลักการเบื้องต้น ของศาสตร์สำคัญๆ 7 ศาสตร์ คือ มนุษยศาสตร์ รัฐศาสตร์ นิติศาสตร์ เศรษฐศาสตร์ วาทศาสตร์ วิทยาศาสตร์ และแพทยศาสตร์ เพื่อเป็นความรู้พื้นฐานในการศึกษาเปรียบเทียบกับองค์ความรู้ ในพระไตรปิฎก บทที่ 2 ส ร ร พ ศ า ส ต ร์ ในทางโลก DOU 9
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More