นิยามและกฎของพุทธศาสนา GB 406 สรรพศาสตร์ในพระไตรปิฏก หน้า 86
หน้าที่ 86 / 373

สรุปเนื้อหา

บทความนี้อธิบายถึงการจำแนกนิยาม 5 ประการในพุทธศาสนา ซึ่งได้แก่ พืชนิยาม, อุตุนิยาม, กรรมนิยาม, จิตตนิยาม, และ ธรรมนิยาม กฎต่างๆนี้เป็นหลักการสำคัญที่ควบคุมสิ่งต่างๆ ทั้งในโลกและอนันตจักรวาล โดยแต่ละกฎมีอิทธิพลต่อการดำเนินชีวิตและธรรมชาติ เช่น กฎทางชีววิทยาที่กำหนดว่าผลผลิตของสิ่งมีชีวิตจะต้องเป็นเช่นไร, กฎทางฟิสิกส์ที่ควบคุมวัตถุในจักรวาล, รวมถึงกฎแห่งกรรมที่ชี้ให้เห็นถึงผลของการกระทำ นอกจากนี้ยังมีการอธิบายถึงแนวคิดเกี่ยวกับจิตใจและกฎแห่งเหตุและผลซึ่งเป็นพื้นฐานสำคัญของการศึกษาในพุทธศาสนาเพื่อเข้าใจความสัมพันธ์ระหว่างสิ่งต่าง ๆ ในโลก

หัวข้อประเด็น

-พืชนิยาม
-อุตุนิยาม
-กรรมนิยาม
-จิตตนิยาม
-ธรรมนิยาม

ข้อความต้นฉบับในหน้า

นิยาม หมายถึง ความแน่นอน” หรือหากใช้ในภาษาร่วมสมัยที่เข้าใจได้ง่ายๆ นิยามก็ อาจแปลว่า “กฎ” พระอรรถกถาจารย์ได้จำแนกนิยามไว้ 5 ประการคือ พืชนิยาม อุตุนิยาม จิตตนิยาม กรรมนิยาม และ ธรรมนิยาม กฎทั้ง 5 ประการนี้ครอบคลุมทุกสิ่งทุกอย่างในโลก และในอนันตจักรวาล ทุกสิ่งทุกอย่างดำเนินไปตามกฎทั้ง 5 ประการนี้ทั้งสิ้น 1) พีชนิยาม (Biological Laws) หมายถึง กฎของสิ่งมีชีวิตทั้งหมด ในทางวิทยาศาสตร์ ใช้คำว่า กฎทางชีววิทยา กล่าวคือ เป็นกฎธรรมชาติที่ควบคุมความเป็นไปของสิ่งมีชีวิตทั้งพืช และสัตว์ เช่น เมื่อเรานำเมล็ดข้าวเปลือกไปปลูก ต้นไม้ที่งอกออกมาจะต้องเป็นต้นข้าวเสมอ หรือเมื่อช้างคลอดลูกออกมา ก็ย่อมเป็นลูกช้างเสมอ หรือถ้าเป็นมนุษย์เมื่อคลอดลูกออกมา ก็ ย่อมเป็นมนุษย์เสมอ ความเป็นระเบียบหรือความแน่นอนนี้ ในทางพุทธศาสนา กล่าวว่า เป็น ผลมาจากการควบคุมของพืชนิยาม 2) อุตุนิยาม (Physical and Chemical Laws) หมายถึง กฎที่ควบคุมสิ่งไม่มีชีวิต ทุกชนิด เช่น ดิน ฟ้า อากาศ สสารวัตถุ ภพภูมิต่าง ๆ ตลอดอนันตจักรวาล ในทางวิทยาศาสตร์ใช้ คำว่า กฎทางฟิสิกส์ ครอบคลุมตั้งแต่ที่เล็กที่สุด ได้แก่ อนุภาค อะตอม ไปจนถึงสิ่งที่ใหญ่โต เช่น โลก กาแล็กซี่ และ เอกภพ ปรากฏการณ์ฟ้าร้อง ฟ้าผ่า ฤดูกาล แม้กระทั่งการเกิดและการดับ สลายของโลกก็เป็นไปตามกฎธรรมชาติคือ อุตุนิยามนี้ 3) กรรมนิยาม (The law of Karma) หมายถึง กฎแห่งกรรม กรรมคือการกระทำ แบ่งออกเป็น 2 อย่าง คือ กรรมดีและกรรมชั่ว กรรมดีย่อมตอบสนองในทางดี กรรมชั่วย่อม ตอบสนองในทางชั่ว 4) จิตตนิยาม (Psychic Law) หมายถึง กฎการทำงานของจิตใจ พระพุทธศาสนาสอน ว่า คนเราประกอบด้วยส่วนที่สำคัญ 2 ส่วน คือ ร่างกายและจิตใจ ในส่วนของจิตใจนั้นมีความ สำคัญในฐานะเป็นผู้สั่งการทุกอย่างให้ร่างกายปฏิบัติตาม หากเปรียบร่างกายเหมือนเครื่อง คอมพิวเตอร์ จิตใจก็เปรียบเหมือนผู้ใช้งานเครื่องคอมพิวเตอร์ (User) 5) ธรรมนิยาม (The law of Cause and effect) มีความหมาย 2 นัย คือ นัยที่ 1 หมายถึง กฎแห่งเหตุและผลของสรรพสิ่ง ดังคำกล่าวที่ว่า เพราะมีสิ่งนี้ จึงมีสิ่งนี้ขึ้น หลักธรรม ต่าง ๆ ส่วนใหญ่ก็จัดอยู่ในหลักธรรมนิยาม เช่น ปฏิจจสมุปบาท (อวิชชาทำให้เกิดสังขาร สังขาร ทำให้เกิดวิญญาณ วิญญาณทำให้เกิดนามรูป นามรูปทำให้เกิดสฬายตนะ สฬายตนะ ทำให้ 1 ปรมัตถทีปนี, อรรถกถาพระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ, มก. เล่ม 81 หน้า 348. * มหาปทานสูตร, อรรถกถาทีฆนิกาย มหาวรรค, มก. เล่ม 13 หน้า 100. บทที่ 4 หลัก ธ ร ร ม สำคัญในพระไตรปิฎก DOU 75
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More