การโต้วาทธรรมในพระพุทธศาสนา GB 406 สรรพศาสตร์ในพระไตรปิฏก หน้า 282
หน้าที่ 282 / 373

สรุปเนื้อหา

บทความนี้สำรวจการโต้วาทธรรมในพุทธกาล โดยเฉพาะการสนทนาที่เกิดขึ้นระหว่างพระสัมมาสัมพุทธเจ้ากับสัจจกนิครนถ์ ที่สะท้อนถึงความไม่เที่ยงของขันธ์ทั้งสี่ รวมทั้งการตีความแง่คิดของการทำงานและการดำรงอยู่ในโลกนี้ ว่าทำได้ต้องมีกรอบหรือองค์ประกอบที่รองรับและมั่นคงตั้งอยู่เช่นเดียวกันกับพืชพันธุ์ที่เจริญงอกงามที่ต้องอาศัยแผ่นดิน

หัวข้อประเด็น

-โต้วาทธรรมในพุทธศาสนา
-บทสนทนาระหว่างพระสัมมาสัมพุทธเจ้ากับสัจจกนิครนถ์
-ความไม่เที่ยงของขันธ์ทั้งสี่
-บทบาทของพระนาคเสนเถระในการฟื้นฟูศาสนา
-หลักการดำรงอยู่ในพระพุทธศาสนา

ข้อความต้นฉบับในหน้า

หาบุคคลเทียบได้ยาก ท้าวเธอก็ได้เที่ยวไต่ถามปัญหากับพระภิกษุและนักบวชลัทธิต่างๆ ไม่ เลือกหน้า พวกใดแก้ปัญหาไม่ได้ก็พากันหนีไป พวกที่ไม่หนีก็สู้ทนนิ่งอยู่ แต่โดยมากได้พากันหนี ไปสู่ป่าหิมพานต์เมืองสากลนครเป็นเหมือนกับว่างจากนักบวชอยู่ถึง 12 ปี เป็นเหตุให้พระพุทธ ศาสนายุคนั้นเสื่อมลงอย่างมาก จนกระทั่งมหาเสนเทพบุตรจุติจากเทวโลกมาเกิดในโลกมนุษย์ ต่อได้ออกบวชและบรรลุธรรมเป็นพระอรหันต์มีนามว่าพระนาคเสนเถระ ท่านสามารถปราบ พระเจ้ามิลินท์ลงได้ โดยตอบคำถามทุกข้อของพระเจ้ามิลินท์ได้อย่างกระจ่างแจ้ง และได้ฟื้นฟู พระพุทธศาสนาขึ้นใหม่ ซึ่งต่อมาพระเจ้ามิลินท์ก็ออกบวชและบรรลุเป็นพระอรหันต์เช่นกัน ในสมัยพุทธกาลก็มีปรากฏเรื่องการโต้วาทธรรมอยู่หลายครั้ง เช่น การโต้วาทธรรม ของพระสัมมาสัมพุทธเจ้ากับสัจจกนิครนถ์, การโต้วาทธรรมของพระกุมารกัสสปะกับพระเจ้า ปายาส และการโต้วาทธรรมของพระสารีบุตรกับนางปริพาชิกาซึ่งเป็นนักบวชนอกพระพุทธ ศาสนา เป็นต้น ในที่นี้จะยกตัวอย่างการโต้วาทธรรมของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าดังนี้ ครั้งหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ในป่ามหาวัน ใกล้เมืองเวสาลี สมัยนั้น สัจจกนิครนถ์ผู้มีปัญญามากได้กล่าวในท่ามกลางประชุมชนในเมืองเวสาลีว่า เราไม่เห็นสมณ พราหมณ์เหล่าใดที่เราโต้ตอบถ้อยคำด้วยแล้ว จะไม่ประหม่าตัวสั่นหวั่นไหว ไม่มีเหงื่อไหลจาก รักแร้เลย แม้เราจะโต้ตอบถ้อยคำกับเสาที่ไม่มีจิต แม้เสานั้นก็สะท้านหวั่นไหว จะกล่าวอะไรถึง มนุษย์เล่า สัจจกนิครนถ์คิดว่า ถ้าอย่างไรเราจะได้พบกับพระโคดม จะได้เจรจากันสักหน่อย และ จะเปลื้องความเห็นเลวทรามของพระองค์เสีย จากนั้นสัจจกะจึงเข้าไปสู่ป่ามหาวันถึงที่พระผู้มี พระภาคเจ้าประทับอยู่ แล้วทูลถามว่า พระโคดมสั่งสอนสาวกทั้งหลายอย่างไร ภ. (พระผู้มีพระภาคเจ้า) เราสั่งสอนสาวกทั้งหลายว่า รูปไม่เที่ยง เวทนาไม่เที่ยง สัญญาไม่เที่ยง สังขารไม่เที่ยง วิญญาณไม่ใช่ตัว สังขารทั้งปวงไม่เที่ยง ธรรมทั้งปวงไม่ใช่ตัว เรา สั่งสอนสาวกทั้งหลายอย่างนี้ ส. (สัจจกนิครนถ์) พระโคดม พืชพันธุ์ไม้เหล่าใดเหล่าหนึ่งที่ถึงความเจริญงอกงาม พืชพันธุ์ไม้เหล่านั้นทั้งหมดต้องอาศัยแผ่นดิน ตั้งอยู่ในแผ่นดิน จึงเจริญงอกงามได้ หรือการ งานเหล่าใดเหล่าหนึ่งที่บุคคลทำด้วยกำลังแขน การงานเหล่านั้นทั้งหมด บุคคลต้องอาศัยแผ่น ดิน ต้องตั้งอยู่ในแผ่นดิน จึงทำได้ฉันใด บุคคลมีรูปเป็นตัว มีเวทนาเป็นตัว มีสัญญาเป็นตัว มี สังขารเป็นตัว มีวิญญาณเป็นตัว และเวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณนั้นต้องตั้งอยู่ในรูป จึงสามารถ เสวยผลแห่งบุญหรือไม่ใช่บุญได้ฉันนั้น บทที่ 9 ว า ท ศ า ส ต ร์ ในพระไตรปิฎก DOU 271
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More