ความรู้เกี่ยวกับหลุมดำ GB 406 สรรพศาสตร์ในพระไตรปิฏก หน้า 72
หน้าที่ 72 / 373

สรุปเนื้อหา

เส้นเขตแดนของหลุมดำเรียกว่า ขอบฟ้าเหตุการณ์ เป็นผิวที่ล้อมรอบหลุมดำและกั้นแสงไม่ให้หลุดออก นักดาราศาสตร์เชื่อว่ามีหลุมดำจำนวนมากในจักรวาล โดยมีหลุมดำขนาดใหญ่ที่ใจกลางกาแล็กซีทางช้างเผือก ซึ่งห่างจากโลกกว่า 26,000 ปีแสง หลักฐานต่าง ๆ แสดงให้เห็นถึงมวลที่มหาศาลของหลุมดำที่ทำให้เวลาแตกต่างจากบริเวณอื่น นอกจากนี้ ยังพบว่ากาแล็กซีอื่น ๆ ก็มีหลุมดำขนาดใหญ่เช่นกัน เช่น กาแล็กซีแอนโดรเมดาและกาแล็กซี M87

หัวข้อประเด็น

-หลุมดำ
-ขอบฟ้าเหตุการณ์
-มวลของหลุมดำ
-เวลาที่แตกต่างในหลุมดำ
-กาแล็กซีต่าง ๆ ที่มีหลุมดำ

ข้อความต้นฉบับในหน้า

เส้นเขตแดนของหลุมดำเรียกว่า “ขอบฟ้าเหตุการณ์ (Event horizon)” เป็นผิวล้อม รอบหลุมดำ เป็นเหมือนผนังกั้นแสงหรือสิ่งต่าง ๆ ให้อยู่ภายในหลุมดำ นักดาราศาสตร์เชื่อว่ามีหลุมดำนับไม่ถ้วนในจักรวาลมีการพบหลักฐานเกี่ยวกับหลุมดำ ในแทบจะทุกๆ ที่ที่สังเกตการณ์ ตั้งแต่ขนาดเท่าเข็มจนถึงยักษ์ใหญ่ที่สามารถกลืนดวงดาวร้อย ล้านเท่าของขนาดดวงอาทิตย์ 3.4.2 หลุมดำใหญ่ใจกลางกาแล็กซีทางช้างเผือก จากหลักฐานต่าง ๆ ที่พบทำให้นักดาราศาสตร์มีความเชื่อว่า มีหลุมดำขนาดใหญ่อยู่ บริเวณใจกลางกาแล็กซีทางช้างเผือกของเรา ซึ่งอยู่ห่างจากโลกออกไปกว่า 26,000 ปีแสง โดยหลักฐานได้จากภาพที่ถ่ายด้วยกล้องดูดาวฮับเบิล สเปซ และกล้องวิทยุดูดาวขนาด 12 ฟุต ชื่อ ลาซิเลีย ในประเทศชิลี นักดาราศาสตร์ยังไม่สามารถระบุมวลของหลุมดำใจกลางกาแล็กซีนี้ได้แน่ชัด สตีเฟน ฮอว์กิ้ง กล่าวว่า มีมวลประมาณ 1 แสนเท่าของดวงอาทิตย์ ดาวที่เคลื่อนเข้าไปใกล้บริเวณดัง กล่าวจะถูกฉีกกระจายออกด้วยแรงโน้มถ่วงกำลังสูง จากนั้นชิ้นส่วนต่าง ๆ และก๊าซจะตกเข้าไป ในหลุมดำ นอกจากนี้จากหลักฐานที่ค้นพบบ่งบอกว่า ในใจกลางกาแล็กซีอื่น ๆ ก็มีหลุมดำขนาด ใหญ่อยู่เหมือนกันกับกาแล็กซีทางช้างเผือกของเรา เช่น กาแล็กซีแอนโดรเมดา กาแล็กซีควา ซาร์ และ กาแล็กซี M87 เป็นต้น 3.4.3 เวลาอันน่าพิศวงในหลุมดำ นักวิทยาศาสตร์พบว่า ความแตกต่างของเวลาบริเวณใกล้หลุมดำ(Black hole) กับ บริเวณอื่น ๆ จะสูงมาก เพราะหลุมดำมีมวลสูงมาก ทำให้ความโน้มถ่วงสูงไปด้วย ศาตราจารย์ ดร.ไพรัช ธัชยพงษ์ กล่าวว่า หากหลุมดำมีมวล 10 เท่าของดวงอาทิตย์ เวลาที่อยู่นอกเส้นขอบ ฟ้าเหตุการณ์ของหลุมดำเพียง 1 เซนติเมตร จะเดินช้าถึง 6 ล้านเท่าของเวลาที่อยู่ห่างไกลออกไป หากนำค่าประมาณของมวลหลุมดำที่สตีเฟน ฮอว์กิ้งกล่าวไว้คือ 1 แสนเท่าของดวงอาทิตย์มา 1 ศาตราจารย์ ดร.ไพรัช ธัชยพงษ์ เคยดำรงตำแหน่งปลัดกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี อธิการบดี มหาวิทยาลัยเทคโนลียีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง, ผู้อำนวยการสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยีแห่งชาติ และผู้อำนวยการศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ * ไพรัช ธัชยพงษ์ (2549). “หนังสือไอน์สไตน์ หลุมดำ และบิกแบง” หน้า 153. บทที่ 3 ความรู้พื้นฐานเรื่องเอกภพ DOU 6
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More