ข้อความต้นฉบับในหน้า
2.2 หลักการเบื้องต้นของแต่ละศาสตร์
จากที่กล่าวมาในหัวข้อที่หนึ่งจะเห็นว่า ศาสตร์ทั้งปวงในทางโลกแบ่งออกเป็น 3 หมวด
วิชาใหญ่ๆ คือ มนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ และ วิทยาศาสตร์ ในแต่ละหมวดวิชาก็จะมีศาสตร์
ย่อยลงไปอีกมากมาย ในที่นี้จะนำเสนอหลักการเบื้องต้นของศาสตร์ที่สำคัญจำนวน 7 ศาสตร์
คือ มนุษยศาสตร์ รัฐศาสตร์ นิติศาสตร์ เศรษฐศาสตร์ วาทศาสตร์ วิทยาศาสตร์ และแพทยศาสตร์
ซึ่งจะใช้ในการเปรียบเทียบกับความรู้ในพระไตรปิฎกในบทอื่น ๆ เป็นลำดับต่อไป
2.2.1 มนุษยศาสตร์
1.) ความหมายของมนุษยศาสตร์
วิชามนุษยศาสตร์มีบทบาทสำคัญในด้านการศึกษามาเป็นเวลานานตั้งแต่สมัยกรีก
โบราณ ชาวกรีกมีความเชื่อว่า ในบรรดาสิ่งมหัศจรรย์ของโลก ไม่มีสิ่งใดมหัศจรรย์เท่ากับมนุษย์
คำว่า มนุษยศาสตร์ เทียบได้กับคำว่า Humanities ในภาษาอังกฤษ ซึ่งมาจากภาษาละตินว่า
humanitas หมายถึง เรื่องราวของมนุษย์หรือความเป็นมนุษย์
ในปัจจุบันวิชามนุษยศาสตร์ได้พัฒนาจากอดีตไปมาก จึงทำให้ความหมายหรือคำจำกัด
ความของ “มนุษยศาสตร์” แตกต่างจากในอดีตไปบ้าง แต่ถึงกระนั้นก็ยังมุ่งเน้นในเรื่องมนุษย์
อุไรวรรณ ธนสถิตย์ ได้ให้ความหมาย “มนุษยศาสตร์” ไว้ว่า เป็นหมวดวิชาที่เรียนเรื่องเกี่ยวกับ
มนุษย์และการแสดงออกเกี่ยวกับตัวเองเป็นวิชาที่ว่าด้วย “โลกภายในของมนุษย์” อันได้แก่
ความรู้สึกนึกคิด จริยธรรม และการสื่อสาร เป็นต้น
วิทย์ วิศทเวทย์ ให้ความหมายมนุษยศาสตร์ไว้ว่า เป็นวิชาที่ศึกษาถึงสิ่งที่มนุษย์คิด ทำ
ใฝ่ฝัน จินตนาการและรู้สึก ดังนั้นวิชานี้จึงปรากฏเป็นวิชาวรรณคดี ศิลปะ ปรัชญา ศาสนา
ประวัติศาสตร์ คือ ศึกษามนุษย์ในฐานะที่มนุษย์มิได้เป็นสัตว์ชีววิทยา (วิทยาศาสตร์) หรือ
สัตว์สังคม (สังคมศาสตร์) แต่ศึกษามนุษย์ในฐานะเป็นตัวเอง มนุษยศาสตร์ คือ การศึกษาที่
เกี่ยวข้องโดยตรงกับความเป็นมนุษย์เพื่อความเจริญงอกงามของความเป็นมนุษย์และเพื่อการอยู่
ร่วมกันอย่างเป็นสุขของมนุษย์...
"อุไรวรรณ ธนสถิตย์. (2530), “หลักมนุษยศาสตร์” หน้า 13-14.
2 วิทย์ วิศทเวทย์. (2528). “การศึกษาวิชามนุษยศาสตร์ : ขอบเขตและจุดมุ่งหมายฯ” หน้า 31.
* อรสา ไทยานนท์. (2550), “เทคโนโลยีมนุษยศาสตร์” [ออนไลน์].
14 DOU สรรพ ศ า ส ต ร์ ในพระไตรปิฎก