บทที่ 2 สรรพศาสตร์ในทางโลก GB 406 สรรพศาสตร์ในพระไตรปิฏก หน้า 21
หน้าที่ 21 / 373

สรุปเนื้อหา

บทนี้นำเสนอความเข้าใจเกี่ยวกับคำว่า 'สรรพศาสตร์' ที่ประกอบด้วยความหมายของคำว่า 'สรรพ' และ 'ศาสตร์' โดยเฉพาะอย่างยิ่งการแบ่งหมวดวิชาใหญ่ๆ ขององค์การยูเนสโก ที่รวมถึงมนุษยศาสตร์, สังคมศาสตร์ และวิทยาศาสตร์ธรรมชาติ นอกจากนี้ยังกล่าวถึงหมวดวิชามนุษยศาสตร์ที่ถือกำเนิดขึ้นก่อนหมวดวิชาอื่น ซึ่งแบ่งออกเป็นกลุ่มวิชาบริสุทธิ์และกลุ่มวิชาประยุกต์ โดยกลุ่มวิชาบริสุทธิ์เน้นที่ความรู้เกี่ยวกับมนุษย์และความคิด เช่น ศาสนา, ปรัชญา, อักษรศาสตร์ และศิลปะ ในขณะที่กลุ่มวิชาประยุกต์นำความรู้ไปใช้ในชีวิตจริง เช่น ปรัชญาการดำเนินชีวิต ความรู้เหล่านี้ถือเป็นพื้นฐานสำคัญของการศึกษาที่พัฒนาในอนาคต

หัวข้อประเด็น

- ความหมายของสรรพศาสตร์
- หมวดวิชาต่างๆ ของสรรพศาสตร์
- มนุษยศาสตร์
- กลุ่มวิชาบริสุทธิ์
- กลุ่มวิชาประยุกต์

ข้อความต้นฉบับในหน้า

บทที่ 2 สรรพศาสตร์ในทางโลก 2.1 ภาพรวมสรรพศาสตร์ในทางโลก 2 คำว่า “สรรพศาสตร์” มาจากคำสองคำคือ “สรรพ” และ “ศาสตร์” สรรพ แปลว่า ทุกสิ่ง, ทั้งปวง หรือ ทั้งหมด ส่วน ศาสตร์ แปลว่า ระบบวิชาความรู้ ดังนั้น สรรพศาสตร์ จึง หมายถึง ระบบวิชาความรู้ทั้งปวงหรือศาสตร์ทั้งปวงที่มีอยู่ในโลกนี้ ซึ่งองค์การยูเนสโก ได้จัด แบ่งเป็นหมวดวิชาใหญ่ๆ คือ มนุษยศาสตร์ (Humanities) สังคมศาสตร์ (Social Sciences) และ วิทยาศาสตร์ธรรมชาติ (Natural Sciences) หรือ เรียกโดยย่อว่า วิทยาศาสตร์ 2.1.1 หมวดวิชามนุษยศาสตร์ หมวดวิชามนุษยศาสตร์นั้นเกิดขึ้นมาในโลกก่อนหมวดวิชาอื่นว่าด้วยโลกภายในของ มนุษย์อันได้แก่ ความรู้สึกนึกคิด, จริยธรรม, การสื่อสาร และคุณค่าของความเป็นมนุษย์ เป็นต้น ซึ่งแบ่งออกเป็น 2 กลุ่มย่อย คือ กลุ่มวิชาบริสุทธิ์ และ กลุ่มวิชาประยุกต์ กลุ่มวิชาบริสุทธิ์ กลุ่มวิชาบริสุทธิ์ ได้แก่ วิชาศาสนา วิชาปรัชญา วิชาภาษาศาสตร์ หรือ อักษรศาสตร์ วิชาศิลปะ เป็นต้น วิชาต่าง ๆ ในหมวดมนุษยศาสตร์มีลักษณะเป็นนามธรรม มีความเจริญก้าว หน้ามาก่อน จึงเป็นความรู้พื้นฐานให้กับวิชาอื่น ๆ ที่ตามมา กลุ่มวิชาประยุกต์ กลุ่มวิชาประยุกต์ คือ วิชาบริสุทธิ์ที่ถูกนำมาใช้ประโยชน์โดยตรงในการดำรงชีวิต หรือ อาจพูดว่า วิชาประยุกต์ คือ การนำเอาความรู้บริสุทธิ์มาใช้งาน ได้แก่ ปรัชญาการดำเนินชีวิต 1 ราชบัณฑิตยสถาน. (2525). “พจนานุกรม.” หน้า 803. * ราชบัณฑิตยสถาน. (2525). “พจนานุกรม.” หน้า 783. * องค์การยูเนสโก (Unesco) คือ องค์การว่าด้วยวัฒนธรรมวิทยาศาสตร์และการศึกษาแห่งสหประชาชาติ * จิรโชค วีระสัย และคณะ. (2546), “รัฐศาสตร์ทั่วไป” หน้า 15. 10 DOU สรรพ ศ า ส ต ร์ ในพระไตรปิฎก
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More