ข้อความต้นฉบับในหน้า
8.5.1 อุปนิสัยการให้ทานของมหาเศรษฐีโลกยุคปัจจุบัน
จากที่กล่าวถึงเรื่องนิสัยในบทที่ 5 เรื่องมนุษยศาสตร์ในพระไตรปิฎกว่า นิสัย หมายถึง
ความประพฤติที่เคยชิน ส่วน“อุปนิสัย” หมายถึง ความประพฤติที่เคยชินเป็นพื้นมาในสันดาน
หรือติดตัวมาข้ามชาติ ใครที่เคยมีนิสัยอย่างไร หากไม่ได้ปรับเปลี่ยนก็จะติดตัวไปตลอดชีวิต
และจะติดตัวข้ามชาติด้วย
จากเรื่องอุปนิสัยอันติดตัวข้ามชาติดังกล่าว เมื่อเปรียบเทียบกับอุปนิสัยการให้ทาน
ของมหาเศรษฐีโลกในปัจจุบันพบว่า สอดคล้องกันมาก บุญจากการให้ทานแก่เนื้อนาบุญใน
อดีตชาติเป็นสาเหตุหลักที่ทำให้คนมีฐานะร่ำรวย และอุปนิสัยการให้ทานนี้ก็จะติดตัวข้ามชาติ
แม้การจะรู้เรื่องในอดีตชาติของมหาเศรษฐีต่าง ๆ เป็นไปได้ยาก แต่ฐานะและอุปนิสัยการให้
ทานในปัจจุบันก็สะท้อนให้เห็นภาพในอดีตได้อย่างชัดเจน
บิลล์ เกตส์ อภิมหาเศรษฐีอันดับหนึ่งของโลกติดต่อกัน 13 ปี ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2538-
2550 ได้ออกมาประกาศว่า จะยกสินทรัพย์ถึง 95% ที่มีอยู่ทั้งหมดให้มูลนิธิของเขาเพื่อใช้ใน
กิจกรรมการกุศล โดยเหลือไว้ให้ลูกทั้ง 3 คนเพียง 5% เท่านั้น ปัจจุบัน (พ.ศ.2551) บิลล์
เกตส์ มีสินทรัพย์ทั้งหมดประมาณ 58,000 ล้านดอลลาร์ (ประมาณ 1.8 ล้านล้านบาท) เท่ากับ
ว่าเขาจะยกสินทรัพย์ให้มูลนิธิเพื่อการกุศลถึง 55,100 ล้านดอลลาร์ หรือ ประมาณ 1.7 ล้าน
ล้านบาท
มีคนเคยถามบิลล์ เกตส์ว่าทำไมถึงไม่ยกทรัพย์สมบัติทั้งหมดให้กับลูกทั้ง 3 คน เขา
ตอบว่า เงินจำนวนมหาศาลขนาดนี้ หากยกให้ลูกจะไม่ทำให้เกิดประโยชน์แก่สังคมและกับลูก
ทั้งสาม เพราะปรัชญาในการดำรงชีวิตของเขาก็ คือ นำทรัพย์สมบัติที่มีคืนให้กับสังคม
มหาเศรษฐีโลกผู้ใจบุญอีกท่านหนึ่งคือ วอร์เร็น บัฟเฟ็ทท์ เขาออกมาประกาศใน
เดือนมิถุนายน พ.ศ.2549 ว่า จะบริจาคเงินประมาณ 37,000 ล้านดอลลาร์ (ประมาณ 1.158
ล้านล้านบาท) ซึ่งคิดเป็น 85% ของสินทรัพย์ที่มีอยู่ตอนนั้นให้แก่มูลนิธิการกุศล 5 แห่ง และ
ไม่นานมานี้เขาก็ได้บริจาคเงิน 31,000 ล้านดอลลาร์ให้กับมูลนิธิของบิลเกตส์ไปแล้ว
นอกจากนี้ในสหรัฐอเมริกายังมีมหาเศรษฐีผู้ใจบุญอีกมากมาย เช่น กอร์ดอน และเบตตี้
มัวร์ ผู้ร่วมก่อตั้งบริษัทอินเทล, เอลิ และเอดิธ บรอด ผู้ก่อตั้งบริษัทซันอเมริกา, เจมส์ และ
เวอร์จิเนียร์ สโตเวอร์ส ผู้ก่อตั้งบริษัทอเมริกาเซนจูรี่, ไมเคิล และซูซาน เดลล์ ผู้ก่อตั้งบริษัทเดลล์
2
1 มติชนสุดสัปดาห์ (2549), “วิธีคิดและการใช้ชีวิตของเศรษฐีอันดับ 1ของโลก” [ออนไลน์].
* ไทยรัฐ (2549). “มหาเศรษฐีมะกันบริจาคให้การกุศลแทบหมดตัว.” [ออนไลน์].
บทที่ 8 เศรษฐศาสตร์ ในพระไตรปิฎก DOU 221