การสอนและเทศน์ของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า GB 406 สรรพศาสตร์ในพระไตรปิฏก หน้า 262
หน้าที่ 262 / 373

สรุปเนื้อหา

การสอนของพระสัมมาสัมพุทธเจ้านั้น มุ่งเน้นการสร้างประสบการณ์และการเข้าใจหลักธรรมในชีวิตจริง ผ่านการยกตัวอย่างแนวทางการปฏิบัติที่มีประสิทธิภาพ เช่น การสอนชฎิลสามพี่น้องถึงทางสายกลาง และพระนันทะที่ข้ามผ่านข้อกังขาต่าง ๆ จนบรรลุเป็นพระอรหันต์. หลักการสอนของพระองค์ยังมีพื้นฐานจากการระลึกชาติที่ สามารถน้อมนำแนวทางการสอนไปสู่การบรรลุธรรมอย่างแท้จริง โดยใช้ ธรรมต่าง ๆ ที่มีการสุ่นในพระสุตตันตปิฎก เช่น อิทธิบาท ศีล และ มงคล 38. การเทศน์ส่วนใหญ่จะมีการใช้ตัวอย่างประกอบเพื่อทำให้การสอนมีความเข้าใจง่ายและเชื่อมโยงกับประสบการณ์ชีวิตจริงของผู้เรียน เช่น ชาดกหรือการปฏิบัติของพระโพธิสัตว์เสมอ.

หัวข้อประเด็น

- การเทศน์สอนของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า
- หลักการและตัวอย่างในการสอน
- แนวทางการปฏิบัติและการบรรลุธรรม
- การใช้ตัวอย่างในพระสุตตันตปิฎก
- การยึดผู้เรียนเป็นศูนย์กลางในการสอน

ข้อความต้นฉบับในหน้า

นอกจากนี้ยังมีตัวอย่างอีกหลายท่าน เช่น ชฎิลสามพี่น้องเคยบูชาไฟมาก่อน พระองค์ จึงทรงเทศนาอาทิตตปริยายสูตรว่าด้วยธรรมที่แสดงถึงของร้อนแก่ชฎิลจนบรรลุเป็นพระอรหันต์ กรณีปัญจวัคคีย์ทั้ง 5 ผู้ยึดติดกับลัทธิการทรมานตน เพราะคิดว่าเป็นทางตรัสรู้ พระสัมมา สัมพุทธเจ้าจึงตรัสธรรมจักกัปปวัตตนสูตรโดยกล่าวถึงหนทางสายกลางที่ไม่เข้าใกล้ทางสุดโต่ง ทั้ง 2 คือ อัตตกิลมถานุโยคคือการทรมานตน และกามสุขัลลิกานุโยคหรือการปล่อยตนให้ หลงใหลในกาม จนท่านอัญญาโกณฑัญญะได้บรรลุเป็นพระโสดาบัน หรือกรณีพระนันทะผู้มี ราคะจริต พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงนำท่านไปสู่ภพดาวดึงส์ เพื่อไปดูเทพนารีทั้งหลาย และ ทรงรับประกันว่าหากพระนันทะตั้งใจบำเพ็ญสมณธรรม หากละโลกขณะที่ยังไม่หมดกิเลสก็จะ ได้นางฟ้าเป็นภรรยา พระนันทะจึงตั้งใจบำเพ็ญสมณธรรม และสุดท้ายก็บรรลุเป็นพระอรหันต์ หมดความต้องการด้วยนางฟ้าไปโดยปริยาย จากที่กล่าวมาข้างต้นจะเห็นว่า หลักในการสอนของพระพุทธองค์นั้นถือเป็นการยึด ผู้เรียนเป็นศูนย์กลางอย่างแท้จริง ครูโดยทั่วไปทำได้อย่างมากก็แค่การวิจัย หรือสอบถามพูดคุย จึงพอรู้ได้บ้างว่าผู้เรียนเป็นอย่างไร รู้ได้เพียงข้อมูลในชาตินี้เท่านั้น แต่พระสัมมาสัมพุทธเจ้า ทรงระลึกชาติได้ ทรงรู้ถึงเรื่องราวในอดีตชาติของสาวกสาวิกาได้ไม่มีสิ้นสุด ด้วยเหตุนี้การ สอนของพระองค์แต่ละครั้ง จึงทำให้มนุษย์และเทวดาทั้งหลายได้บรรลุธรรมกันนับไม่ถ้วน 9.6.2 แสดงธรรมโดยยกหลักการและตัวอย่างประกอบ การเทศน์สอนของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าและพระอริยสาวกนั้นมีทั้งส่วนที่เป็นหลักการ เป็นข้อ ๆ และส่วนที่เป็นตัวอย่างประกอบ หลักการโดยส่วนใหญ่จะปรากฏอยู่ในพระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย เล่มที่ 20 - 24 ว่าด้วยหลักธรรมเป็นข้อ ๆ ซึ่งมีตั้งแต่หลักธรรมที่มี 1 ข้อ ไป จนถึงหลักธรรมที่มีเกิน 10 ข้อ เช่น กัลยาณมิตตตา 1, กรรม 2, บุญกิริยาวัตถุ 3, อิทธิบาท 4, ศีล 5, ทิศ 6, อปริหานิยธรรม 7, โลกธรรม 8, พุทธคุณ 9, กุศลกรรมบท 10, อายตนะ 12, ธุดงค์ 13, ธาตุ 18, อินทรีย์ 22, โพธิปักขิยธรรม 37, และ มงคล 38 เป็นต้น ส่วนตัวอย่างประกอบการเทศน์โดยส่วนใหญ่จะปรากฏอยู่ในพระสุตตันตปิฎก ขุททก- นิกาย เล่มที่ 25-28 และ เล่มที่ 32-33 ซึ่งว่าด้วยชาดก 550 เรื่อง, วิมานวัตถุ 85 เรื่อง, เปตวัตถุ 51 เรื่อง, ธรรมบท 305 เรื่อง, และ เรื่องราวในอุปทาน 663 เรื่อง รวมทั้งหมดเป็น 1,654 เรื่อง ทั้งหมดนี้ประกอบด้วยประวัติการสร้างบารมีของพระโพธิสัตว์ก่อนจะตรัสรู้เป็น 'สุชีพ ปุญญานุภาพ(2539) พระไตรปิฎก ฉบับประชาชน หน้า 611,614, 627 และ มหาจุฬาลงกรณ์ราช วิทยาลัย (2540) พระไตรปิฎกภาษาไทย เล่มที่ 25 หน้า 23, เล่มที่ 33 หน้า 7-8 บทที่ 9 ว า ท ศ า ส ต ร์ ในพระไตรปิฎก DOU 251
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More