ข้อความต้นฉบับในหน้า
การปกครองและการแก้ปัญหาสังคมของพระเจ้ามหาวิชิตราชนี้ สอดคล้องกับ
จ๊กก
วัตติสูตร ที่กล่าวแล้วในบทที่ 5 หัวข้อ “ประวัติศาสตร์โลกและมนุษยชาติ” กล่าวคือ ปัญหา
สังคมที่เกิดขึ้นมีสาเหตุสำคัญอยู่ 2 ประการคือ พระราชาไม่ตั้งอยู่ในธรรม และการบริหาร
จัดการเรื่องเศรษฐกิจไม่ดี เป็นเหตุให้ความขัดสนแพร่หลาย ส่งผลให้เกิดการลักขโมย และการ
ทำผิดศีลผิดธรรมโดยประการต่าง ๆ ตามมา ดังนั้น เมื่อจะต้องแก้ปัญหาที่เกิดขึ้นผู้ปกครอง
ประเทศจึงต้องตั้งอยู่ในธรรม และการบริหารจัดการเรื่องเศรษฐกิจให้ดี
ในกฏทันตสูตรนี้จะเห็นว่า พระเจ้ามหาวิชิตราชและพราหมณ์ปุโรหิตตั้งอยู่ในธรรม คือ
พระเจ้ามหาวิชิตราชทรงมีพระราชศรัทธา เป็นทานบดี เป็นดุจบ่อที่ลงดื่มของสมณพราหมณ์
รวมทั้งประชาชนพลเมือง และทรงเป็นบัณฑิต เฉียบแหลม ทรงพระปรีชาสามารถ เป็นต้น ส่วน
พราหมณ์ปุโรหิตก็ตั้งอยู่ในธรรมคือเป็นผู้มีศีลเป็นต้นเมื่อมีปัญหาโจรผู้ร้ายที่เกิดขึ้นในแว่นแคว้น
พราหมณ์ปุโรหิตก็ทราบดีว่า ต้นตอของปัญหาอยู่ที่เรื่องเศรษฐกิจ ซึ่งเกิดกับกลุ่มคนในระดับ
ล่างของสังคมเป็นหลัก ดังนั้น ปุโรหิตจึงถวายคำแนะนำให้พระราชาแก้ปัญหา ด้วยการช่วยเหลือ
เศรษฐกิจแก่คนเหล่านี้ เมื่อแก้ปัญหาที่ต้นเหตุเช่นนี้ จึงทำให้ปัญหาที่เกิดขึ้นดับไป และส่งผล
ให้ประเทศชาติเจริญรุ่งเรืองในที่สุด
6.9.12 สรุปหลักการปกครองของพระเจ้ามหาวิชิตราช
จากเนื้อหาในกูฏทันตสูตรและบทวิเคราะห์ที่กล่าวมานี้ สามารถสรุปหลักการ
ปกครองประเทศ และหลักการแก้ปัญหาสังคมของพระเจ้ามหาวิชิตราช ซึ่งพระองค์ทรงปฏิบัติ
ตามคำแนะนำของพระโพธิสัตว์ได้ 3 ขั้นตอน ดังนี้
1. แบ่งกลุ่มเป้าหมายในการแก้ปัญหาและพัฒนาประเทศออกเป็น 2 ระดับ คือ
1.1) กลุ่มเป้าหมายระดับบน คือ กลุ่มผู้มีอิทธิพล 4 กลุ่ม
1.2) กลุ่มเป้าหมายระดับล่าง คือ กลุ่มของประชาชนทั่วไป 3 กลุ่ม
2. มุ่งแก้ไขปัญหาและพัฒนากลุ่มเป้าหมายระดับล่างก่อน เพราะเป็นกลุ่มที่กำลัง
เดือดร้อนด้วยปัญหาต่าง ๆ ได้แก่ ปัญหาเศรษฐกิจตกต่ำซึ่งลุกลามใหญ่โตและขยายวงมาสู่
ปัญหาศีลธรรม คือ การลักขโมยและปล้นบ้านปล้นเมือง
จึงต้องแก้ไขด้วยการพัฒนาเศรษฐกิจควบคู่ไปกับพัฒนาจิตใจคือศีลธรรม ดังนี้
2.1) พัฒนาเศรษฐกิจด้วยการส่งเสริมคนระดับล่างที่ขยันทำมาหากิน 3 กลุ่ม เพื่อ
152 DOU สรรพ ศ า ส ต ร์ ในพระไตรปิฎก