คำสอนธรรมจากพระสัมมาสัมพุทธเจ้า GB 406 สรรพศาสตร์ในพระไตรปิฏก หน้า 271
หน้าที่ 271 / 373

สรุปเนื้อหา

ในบทสนทนานี้ พระสัมมาสัมพุทธเจ้าใช้สือน้ำและก้อนหินเพื่อสอนพระราหุลเกี่ยวกับความเป็นสมณะและการทำความดี โดยการใช้อุปมาอุปไมยเพื่อให้เข้าใจได้ง่ายขึ้น พระองค์ได้เปรียบเทียบว่า ความเป็นสมณะที่มีมากเหมือนปริมาณน้ำในภาชนะ และการทำความดีจะนำไปสู่นรกหากกระทำผิด พระสัมมาสัมพุทธเจ้าจึงกล่าวถึงความทุกข์ในโลกนี้และนรกที่เปรียบเทียบกันไม่ได้ และใช้การเปรียบเทียบที่มีภาพชัดเจนเพื่อให้ผู้ฟังเกิดความซาบซึ้งในคำสอน.

หัวข้อประเด็น

-การใช้สื่อในการสอนธรรม
-ความเป็นสมณะ
-การเปรียบเทียบด้วยอุปมา
-ความทุกข์ในนรก
-การทำความดีและการทำผิด

ข้อความต้นฉบับในหน้า

ร. “เห็น พระพุทธเจ้าข้า” ภ. “ราหุล ความเป็นสมณะของบุคคลที่กล่าวเท็จทั้งที่รู้ก็มีอยู่หน่อยหนึ่งเหมือนน้ำนี้” จากนั้น พระผู้มีพระภาคทรงคว่ำภาชนะน้ำนั้น แล้วตรัสกับพระราหุลว่า “ราหุล เธอ เห็นภาชนะน้ำที่คว่ำนี้ไหม” ร. “เห็น พระพุทธเจ้าข้า” ภ. “ราหุล ความเป็นสมณะของบุคคลที่กล่าวเท็จทั้งที่รู้ ก็เหมือนภาชนะน้ำที่คว่ำนี้” จากเรื่องนี้พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงเปรียบความเป็นสมณะด้วยปริมาณน้ำในภาชนะ กล่าวคือ หากน้ำมีมากก็แสดงว่าความเป็นสมณะมีมากแต่ถ้าน้ำมีน้อยแสดงว่าความเป็นสมณะมี น้อย ซึ่งทำให้พระราหุลเข้าใจธรรมที่ลึกซึ้งนั้นได้ง่ายขึ้น และการสอนโดยใช้สื่อนี้ ยังจะทำให้ ผู้ฟังเกิดความซาบซึ้ง และประทับในใจได้มากกว่าการพูดโดยทั่วไป 3. ใช้ “ก้อนหิน” เป็นสื่อการแสดงธรรม ครั้งหนึ่งพระสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสกับภิกษุทั้งหลายว่า คนพาลผู้ประพฤติกายทุจริต ประพฤติวจีทุจริต ประพฤติมโนทุจริต หลังจากตายแล้วจะไปเกิดในอบาย ทุคติ วินิบาตและ นรก ความทุกข์ในโลกนี้กับความทุกข์ในนรกนั้นเปรียบเทียบกันไม่ได้” ภิกษุรูปหนึ่งได้กราบทูลว่า “พระองค์จะทรงอุปมาได้หรือไม่ พระเจ้าข้า” พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “ได้ ภิกษุ” แล้วตรัสว่า “เปรียบเหมือนราชบุรุษจับโจรได้แล้ว จึงแสดงแก่พระราชาว่า “ผู้นี้เป็นโจร ขอพระองค์จงทรงลงพระอาญาเถิด” พระราชามีพระกระแสรับสั่งว่า “ท่านจงประหารบุรุษนี้ด้วยหอก 100 เล่ม ในเวลาเช้า ราชบุรุษก็ประหารบุรุษคนนั้นด้วยหอก 100 เล่มในเวลาเช้า ต่อมาในเวลาเที่ยง พระราชา ทรงถามว่า “บุรุษนั้นเป็นอย่างไรบ้าง” ราชบุรุษกราบทูลว่า “เขายังมีชีวิตอยู่ พระเจ้าข้า” พระราชาจึงมีพระกระแสรับสั่งให้ราชบุรุษประหารบุรุษคนนั้นด้วยหอกอีก 100 เล่ม ในเวลาเที่ยงวัน ต่อมาในเวลาเย็น พระราชาทรงถามอีกว่า “บุรุษคนนั้นเป็นอย่างไรบ้าง” ราชบุรุษกราบทูลว่า “เขายังมีชีวิตอยู่ พระเจ้าข้า” พระราชาจึงมีพระกระแสรับสั่งให้ราชบุรุษ ประหารบุรุษคนนั้นด้วยหอกอีก 100 เล่มในเวลาเย็น 1 พระสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสว่า บุรุษนั้นถูกประหารด้วยหอก 300 เล่ม จึงเสวยทุกข์ * จูฬราหุโลวาทสูตร, มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ ภิกขุวรรค, มจร. เล่ม 13 ข้อ 107 หน้า 117. 260 DOU สรรพ ศ า ส ต ร์ ในพระไตรปิฎก
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More