วิทยาศาสตร์ในพระไตรปิฎก GB 406 สรรพศาสตร์ในพระไตรปิฏก หน้า 289
หน้าที่ 289 / 373

สรุปเนื้อหา

บทที่ 10 กล่าวถึงความสัมพันธ์ระหว่างวิทยาศาสตร์และพระไตรปิฎก โดยเน้นประเด็นเกี่ยวกับเจตคติและลักษณะของความรู้ วิธีการแสวงหาความรู้ รวมถึงสมาธิกับการค้นพบต่างๆ ของนักวิทยาศาสตร์. แม้จะมีความเชื่อมโยงกัน แต่พุทธศาสตร์ยังคงเป็นสิ่งที่แตกต่างจากวิทยาศาสตร์ โดยวิทยาศาสตร์ยึดหลักการทดลองและอาจมีการเปลี่ยนแปลง ขณะพุทธศาสตร์เป็นความรู้ที่เกิดจากการตรัสรู้เป็นสัจธรรมที่ไม่เปลี่ยนแปลง. ตัวอย่างเกี่ยวกับการเข้าใจผิดอาจเกิดขึ้นจากการสังเกตการณ์ในธรรมชาติ. เนื้อหานี้ให้มุมมองที่น่าสนใจเกี่ยวกับการศึกษาความรู้จากทั้งสองด้านและความสำคัญของการเข้าใจธรรมชาติ.

หัวข้อประเด็น

-วิทยาศาสตร์ในพระไตรปิฎก
-การแสวงหาความรู้
-ความแตกต่างของพุทธศาสตร์และวิทยาศาสตร์
-อุปมาในการเรียนรู้

ข้อความต้นฉบับในหน้า

บทที่ 10 วิทยาศาสตร์ในพระไตรปิฎก 10.1 ภาพรวมวิทยาศาสตร์ในพระไตรปิฎก วิทยาศาสตร์ในพระไตรปิฎกในที่นี้จะกล่าวถึงประเด็นที่ปรากฏอยู่ในพระไตรปิฎกซึ่ง เกี่ยวข้องหรือสอดคล้องกับวิทยาศาสตร์ ได้แก่ เจตคติต่อความรู้, ลักษณะของความรู้, วิธีการ แสวงหาความรู้, สมาธิกับการค้นพบของนักวิทยาศาสตร์, นิยาม 5 กฎแห่งสรรพสิ่งใน อนันตจักรวาล และการพิสูจน์คำสอนในพระไตรปิฎก แต่ทั้งนี้ไม่ได้ต้องการให้นักศึกษาเข้าใจว่า พุทธศาสตร์อันเป็นพระธรรมคำสอนของ พระสัมมาสัมพุทธเจ้าซึ่งปรากฏอยู่ในพระไตรปิฎกเป็นวิทยาศาสตร์ เพราะว่าพุทธศาสตร์ก็ยัง คงเป็นพุทธศาสตร์ และวิทยาศาสตร์ก็ยังคงเป็นวิทยาศาสตร์ พุทธศาสตร์นั้นมีความแตกต่างกับวิทยาศาสตร์ในประเด็นที่สำคัญ คือ ความรู้ของ พุทธศาสตร์เป็นความรู้แจ้งด้วยพระปัญญาตรัสรู้ธรรมของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า เป็นความรู้ที่ เกิดขึ้นจากภาวนามยปัญญา เป็นสัจธรรมที่เที่ยงแท้แน่นอนไม่มีการเปลี่ยนแปลงอีกต่อไป ส่วนความรู้ของวิทยาศาสตร์ไม่ได้เป็นความรู้แจ้งแต่เป็นความรู้ที่เกิดจากสุตมยปัญญา และ จินตมยปัญญาเป็นหลักเกิดจากการลองผิดลองถูกจนคิดว่าได้ค้นพบความจริงในธรรมชาติ บางประการ แล้วตั้งเป็นกฎหรือทฤษฎีขึ้นมา ซึ่งมีบ่อยครั้งเมื่อนักวิทยาศาสตร์ได้ศึกษามากขึ้น ไปกว่าเดิมก็จะพบว่า กฎหรือทฤษฎีบางอย่างไม่ถูกต้องจึงต้องยกเลิกไป กฎบางกฎที่ใช้มายาวนานจนนักวิทยาศาสตร์เองก็คิดว่าเป็นสัจธรรมไม่มีการ เปลี่ยนแปลงแล้ว ได้รับการพิสูจน์มานับครั้งไม่ถ้วนแล้วว่าถูกต้อง ก็ยังอาจจะพลาดได้ เหมือน ดังอุปมาที่ว่า ไก่ตัวหนึ่งเช้าขึ้นมาก็เห็นนาย ก.มา นาย ก.มาทีไร ก็เอาอาหารมาให้กินทุกที เห็นอย่างนี้มาทุกเช้าๆ ก็เป็นอันว่า พอไก่เห็นนาย ก. เป็นได้กิน ไก่เห็นนาย ก.เป็นได้กิน ไก่ เห็นนาย ก.เป็นได้กินทุกวัน ๆ เป็นปีๆ แต่มาถึงเช้าวันหนึ่ง ไก่เห็นนาย ก.มา แต่ไม่ได้กิน เพราะนาย ก.ไม่ได้ถืออาหารมา และกลายเป็นว่า นาย ก.ถือมีดมาแล้วก็เฉือนไก่ลงหม้อแกง เพราะฉะนั้น ที่ว่า “ไก่เห็นนาย ก.แล้วได้กิน” ก็กลายเป็นว่า “ไก่เห็นนาย ก.เลยลงหม้อแกง” 278 DOU สรรพ ศ า ส ต ร์ ในพระไตรปิฎก
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More